คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เสื้อสูบ, ลูกสูบ, แหวนลูกสูบ

กระบอกสูบนั้นอยู่ในเสื่อสูบซึ่งทำด้วยเหล็กหล่อพิเศษ มีช่องกระบอกสูบเจาะด้วยเครื่องจักรพิเศษ (Honing machine) ซึ่งมีความละเอียดถึง 0.0004”(0.01 ม.ม.) ทั้งทางด้านเรียวและทางด้านความกลม รูปสลักเกลียวสอบปลายที่ใช้สำหรับยึดเสื้อสูบตัวหลังขวานั้นทำหน้าที่เป็นทางน้ำมันไปสู่หัวสูบ โซ่ขับเพลาลูกเบี้ยวนั้นอยู่ในช่องทางด้านซ้ายของเสื้อสูบ ลูกสูบซึ่งมีหัวเป็นรูปกลมนั้น ทำด้วยอลูมิเนียมผสมด้วยซิลิก้อน (High Silicon Aluminum Alloy) ทำเป็นรูปไข่ ขัดให้เรียวพร้อมทั้งมีเนื้อที่ลดความดันอยู่ข้างลูกสูบ ตรงรูแกนลูกสูบ ใช้แหวนสำหรับอัด (Compression ring) 2 วง และแหวนน้ำมัน (oil ring) 1 วง


ก้านสูบนั้นทำมาอย่างละเอียด และติดออกนอกแนวแกนของลูกสูบ 1.5 ม.ม. ไปทางด้านท่อไอดี (รูป 49)
การถอดเสื้อสูบและลูกสูบ
1.หลังจากที่ถอดหัวสูบและน๊อตของสลักเกลียว (6ม.ม.) 2 ตัว ซึ่งอยู่ที่ฐานเสื้อสูบด้านซ้ายแล้วก็อาจยกเสื้อสูบออกจากอ่างข้อเหวี่ยงขึ้นมาตามสลักเกลียวได้ (รูป50)






2.ถอดแหวนบังคับสลักลูกสูบวงนอกทั้งสองวง โดยใช้คีมถ่างแหวนดึงสลักลูกสูบทั้งสองออก (รูป52) ซึ่งจะให้ถอดลูกสูบออกจากก้านสูบได้
3.ถอดแหวนลูกสูบจากร่องแหวนบนลูกสูบ โดยดึงแหวนให้ขยายด้วยมือหรือใช้เครื่องมือพิเศษถ้าหาได้





การตรวจและซ่อมแซมเสื้อสูบ, ลูกสูบและแหวน
1.ขุดขี้เขม่าจากบนลูกสูบและร่องแหวนออกให้หมด
2.ตรวจความราบเรียบ (flatness) ขอบเสื้อสูบด้วยสันตรง (Straight edge) และความกว้างกระบอกสูบด้วยเกจ์ (gauge) ให้คว้านเสื้อสูบหรือทำให้ดีขึ้นใหม่ ถ้าหากผิดไปเกิน 0.002 นิ้ว (0.05 ม.ม.) ขึ้นไป
3.การตรวจกระบอกสูบดูความกลมและมุมที่เรียกลงด้วยเกจ์วัดเสื้อสูบ ให้คว้านเสื้อสูบหรือทำให้ดีขึ้นใหม่ ถ้าค่าที่วัดได้ไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการ  รูป54
4.ถ้าภายในกระบอกสูบ มีรอยขีดหรือเรียวลง หรือ เบี้ยวไปไม่เกิน 0.002 นิ้ว (0.05 ม.ม.) ก็อาจขยายลูกสูบ (honed) เพื่อให้แหวนใหม่เข้าที่สนิท ถ้ากระบอกสูบเสียมากกว่านี้ก็ต้องคว้านเสื้อสูบเสีย



ขนาดของลูกสูบและแหวนมี 0.15, 0.30 และ 0.45 ม.ม. (0.006, 0.0118 และ 0.01771นิ้ว) เป็นขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ (over sizes) ขนาดเสื้อสูบที่จะคว้านหรือขยายนั้นอาจหาได้โดยการวัดขนาดแล้วลบออกจากขนาดที่ใหญ่กว่าปกติในขนาดที่จะแก้ข้อบกพร่องได้กระบอกสูบทั้งสองจะต้องคว้านให้ได้ขนาดเท่ากันเพื่อรักษาสมดุลย์ไว้ เมื่อคว้านเสื้อสูบต้องเผื่อขัด (honing) ไม่ต่ำกว่า 0.0008 นิ้ว (0.02 ม.ม.) อย่าคว้านเสื้อสูบให้ได้ขนาดใหญ่กว่าปกติที่ต้องการในทันที เพราะในขั้นสุดท้ายก็จะต้องแต่งกระบอกสูบด้วยการขัดการคว้านเสื้อสูบนั้น เมื่อเสร็จแล้วจะต้องมีขนาดผิดไปไม่เกิน 0-0.004 นิ้ว (0-0.01 ม.ม.)
5
.ตรวจลูกสูบว่ามีรอยแตก รอยถูหรือรอยไหม้หรือไม่ ถ้าเสียก็ให้เปลี่ยนลูกสูบ เมื่อคว้านเสื้อสูบใหม่ต้องใช้ลูกสูบที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติลูกใหม่
6.ถ้าประกอบลูกสูบเก่าคืนเข้าไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูแกนลูกสูบ และระยะ 90 องศา ตรงกันข้ามโดยใช้ไมโครมิเตอร์ และเปลี่ยนลูกสูบซึ่งเปลี่ยนไปเกินกว่าที่กำหนดไว้ในรายการ (รูป55) ช่องระยะห่างระหว่างลูกสูบและกระบอกสูบต้องอยู่ระหว่าง 0 – 0.0012 นิ้ว (0.03 ม.ม.)
7
.ใส่แหวนชุดใหม่เข้ากับร่องแหวนลนลูกสูบ แล้วใช้เกจ์วัดระยะห่างด้านข้างของแหวน (รูป56) เปลี่ยนลูกสูบเสีย ถ้าระยะห่างนั้นเกินกว่าที่กำหนดไว้ในรายการ



8.ใส่สลักลูกสูบและลูกสูบเข้ากับก้านสูบ แล้วจับบิดไปมา ถ้าหาบิดไปมาได้ให้เปลี่ยนลูกสูบเสีย
9.เปลี่ยนแหวนลูกสูบเมื่อยกเครื่องทุกครั้ง
วิธีการเปลี่ยนแหวนใหม่
9.1 สอดแหวนเข้ากระบอกสูบให้ได้มุมฉากและห่างจากขอบ 1 นิ้ว วัดช่องระหว่างปลายทั้งสองของแหวนด้วยแผนเกจ์ (feeler gauge) ระยะห่างนี้จะต้องอยู่ระหว่าง 0.008 – 0.02 นิ้ว (0.2-0.5 ม.ม.) สำหรับแหวน ทั้งแหวนอันและแหวนน้ำมัน
9.2 ถ้าช่องระยะนี้น้อยกว่า 0.008 นิ้ว ให้ฝนปลายของแหวนให้ฉากด้วยตะใบละเอียดเพื่อให้ได้ระยะที่ต้องการ ถ้าช่องระหว่างปลายทั้งสองของแหวนนี้ใหญ่กว่าปกตินั้นมีอยู่ตามที่บรรยายไว้ในข้อ 2 (4) ที่ผ่านมาแล้ว
9.3 ก่อนที่จะใส่แหวนใหม่ให้เข้าร่องลูกสูบ ให้หมุนแหวนไปรอบลูกสูบ เพื่อตรวจดูว่าแหวนนั้นเคลื่อนได้สะดวกปราศจากการติดขัดในร่อง (รูป58)
9.4 ควรระวังอย่าใส่แหวนกลับข้างล่างขึ้นข้างบนเพราะจะทำให้เครื่องเดินไม่ดี




ลักษณะของแหวนนั้นแสดงไว้ในรูป 59 ด้านที่มีเครื่องหมายตอกไว้จากโรงงานจะต้องติดอยู่ข้างบน




10.การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของสลักลูกสูบ ถ้าหลวมหรือเบี้ยวเกินกว่าที่กำหนดไว้ ก็ให้เปลี่ยนเสีย
การติดตั้งลูกสูบและเสื้อสูบ
1.ใส่แหวนเข้าลูกสูบให้ถูกตามลำดับร่อง วิธีที่ดีที่สุดก็คือใช้เครื่องขยายแหวน อย่างใส่แหวนให้ผิดร่องหรือกลับข้างล่างขึ้นข้างบน
2.ใส่แหวนบังคับ (eirelip) ปลายสลักของลูกสูบที่ปลายด้านหนึ่ง สอดแกนผ่านลูกสูบและก้านสูบ แล้วติดไว้ด้วยแหวนบังคับอีกด้านหนึ่ง แกนของลูกสูบลูกซ้ายควรใส่จากทางขวา และของลูกสูบลูกขวาให้ใส่จากทางซ้ายควรระวังใส่ลูกสูบโดยให้ลูกศรที่อยู่บนหัวชี้ไปข้างหน้า
3.ใส่ประเก็นเสื้อสูบบนอ่างข้อเหวี่ยง โดยระมัดระวังใส่ให้ตรงรูและรู้น้ำมันอยู่ตรงกัน และเข้ากันพอดี ค้ำลูกสูบให้อยู่สูงสุด (top dead center) โดยใช้ท่อไม้ค้ำตอนล่างของลูกสูบไว้กับอ่างข้อเหวี่ยง ใช้ปลอกรักแหวน (ring compressor) รัดแหวนบนลูกสูบทั้งสองลูก ใส่เสื้อสูบบนลูกสูบ แล้วเคาะให้เลื่อนลงเบา ๆ ด้วยมือ ถอดปลายรัดแหวนออก แล้วจึงเอาไม้ค้ำออกหลังจากที่แหวนเลื่อนเข้าไปอยู่กระบอกสูบเรียบร้อยแล้ว (รูป61)






4.เคาะสลักเดือย (dowel pin) 3 ตัวให้เข้ากับเสื้อสูบ แล้วใส่ประเก็นฝาสูบ ยางรองโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว ปลอกยางกลม (rubber “O” ring) รอบสลักเดือยทางน้ำมัน
5.สวมฝาสูบลงบนสลักเกลียวสองปลาย แล้วขันน๊อตสลักเกลียวขนาด 6 ม.ม. เพื่อยึดที่เก็บโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยวเข้ากับอ่างข้อเหวี่ยง
เพลาเข้าเหวี่ยงและก้านสูบ
เพลาข้อเหวี่ยงมีอยู่สองชนิด ชนิดแรก สำหรับเครื่องธรรมดา อีกชนิดหนึ่งนั้น ใช้สำหรับเครื่องแบบซีบี
92 และซีเอ 95
เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องธรรมดา ใช้ตลับลูกปืนรองรับ และให้สลักเดี่ยวอัดติดเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยงซ้ายและขวา โดยมีน้ำหนักถ่วงลองลูกอยู่ตรงกลาง สำหรับเครื่องที่มีเลขประจำเครื่องสูงกว่า
(92F-939667) ขอบนอกของตลับลูกปืนนั้นหนากว่ารุ่นก่อน ๆ  เครื่องแบบซีบี 92และซีเอ 95 มีตลับลูกปืน (ball bearing) 2 ตัว และตลับลูกลื่น (roller bearing) 1 ตัวอยู่ตรงกลาง เพื่อรองรับเพลาข้อเหวี่ยง โดยมีแกนข้อเหวี่ยง (Crank pins) อยู่ทางซ้ายและทางขวา และมีน้ำหนักถ่วงอัดติดกับเพลาข้อเหวี่ยง ส่วนประกอบเพลาข้อเหวี่ยงนั้น อัดติดกับเพลาข้อเหวี่ยงตัวกลางก้านสูบ และลูกลื่นที่ปลายใหญ่ของก้านสูบ (big and roller bearing) ได้รับการปรับปรุง แก้ไข่ สองครั้ง ทั้งในเครื่องธรรมดา และเครื่องซูเปอร์สปอร์ท ดังนั้นจึงมีอยู่ 3 แบบ แล้วแต่เบอร์ประจำเครื่องที่ซ่อม (รูป62,63)
ตลับลูกปืนใหญ่นั้นมีร่องรอยขอบทุกขอบ และให้ดันเข้าติดกับเพลาข้อเหวี่ยง ทางปลายขวาของเพลาข้อเหวี่ยง มีเฟืองขับ
(drive gear) สวมเข้ากับเฟืองบนเพลา (Spline) แล้วยึดติดไว้ด้วยน๊อต ทางปลายซ้ายมีเฟืองโซ่ (Sprocket) ตั้งเวลาติดไว้ด้วยสลักเดือย
ถ้าเครื่องมีเบอร์สูงกว่า
C92E-931006 หรือ C95E-912778 ใช้เฟืองแบบทำมุมหมุน (helical drive gear) แทนที่จะเป็นเฟืองแบบฟันตรง (Spin gear) ในเครื่องรุ่นก่อน ๆ







น้ำมันเครื่องที่กรองแล้ว ก็ถูกส่งโดยแรงอัดตามรูน้ำมันในเพลาข้อเหวี่ยงขวาไปยังแกนข้อเหวี่ยง เพื่อป้องกันการเสียหายมิให้เกิดขึ้นแก่เพลาข้อเหวี่ยงในระหว่างการขนส่ง มียางรองรับใส่ไว้จากโรงงานอยู่ระหว่างหัวของสลักเกลียว ยึดตัวหมุนของไดนาโมและฝาครอบทองขาวพร้อมทั้งมีแผ่นเตือนความจำติดไว้ที่ปุ่มกดสตาร์ทยางรองรับนี้ต้องถอดออกเสียก่อนที่จะติดเครื่อง (รูป65)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น