คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกียร์และที่เหยียบสตาร์ท


เกียรนั้นเก็บอยู่ในอ่างข้อเหวี่ยง และกำลังที่จากเพลาข้อเหวี่ยงนั้นส่งต่อมายังเกียร์โดยใช้เฟืองแบบมีฟันเฉียง (helical gear)
เพลาที่ส่งกำลังเข้าเกียร์นั้นเรียกว่า เพลาตรง
(ใหญ่) และเพลาที่ใช้ส่งกำลังออกก็เรียกว่า เพลารอง (กลับ)  ซึ่งเป็นเพลาที่มีเฟืองขับโซ่ติดอยู่บนเพลา เพลาแต่ละตัวมีเฟืองติดอยู่ 4 ตัว สำหรับเข้าคู่กันและจะเปลี่ยนให้เข้าหรือแยกจากกันได้โดยใช้คนบังคับกลไก ของก้านที่เปลี่ยนเกียร์ (shift arm)  ลูกทรงกระบอกสำหรับเปลี่ยนเกียร์ (shrift drum) และก้ามปู (shift furk) เฟืองต่าง ๆ มีเฟืองรอง (spu gear) อยู่ข้าง ๆ และผ่านการทำให้ผิวแข็ง เพื่อทำให้เกียร์นั้นทน และใช้ได้นานโดยไม่เสีย
วิธีการเปลี่ยนเกียร์
สำหรับเครื่องฮอนด้า 125 มีกลไกการเปลี่ยนเกียร์อยู่สองแบบ แบบหนึ่งเป็น แบบหมุนไปได้รอบ และแบบที่สองเป็น แบบเปลี่ยนกลับ แบบหมุนไปได้รอบนั้นใช้กับเครื่องฮอนด้า 125 แบบธรรมดาทีมีเบอร์ประจำเครื่องถึง C92E-12000 และแบบเปลี่ยนกลับนั้นใช้กับเครื่องธรรมดาแบบหลัง ๆ มาและกับเครื่องแบบซีบี 92 และซีเอ 95
ความแตกต่างระหว่างระบบทั้งสองนั้น แสดงไว้ตามรูปข้างล่าง




แบบเปลี่ยนไปได้รอบนั้นไม่มีขนาดขอบเขตจำกัด แต่แบบเปลี่ยนกลับนั้นมีที่กันไว้ที่ต่ำกว่าเกียร์ต่ำและเหนือเกียร์สูงสุด
แรงบังคับจากที่เหยียบเปลี่ยนเกียร์นั้นเปลี่ยนเป็นการหมุน ลูกทรงกระบอกสำหรับเปลี่ยนเกียร์ซึ่งให้บังคับก้ามปูสองตัวซึ่งเข้าอยู่กับร่องบนรูปทรงกระบอก (รูป82)การเปลี่ยนการหมุนของลูกทรงกระบอก ให้เป็นการเคลื่อนตามแนวแกนของก้ามปูนั้นอาศัยลักษณะตามโค้ง (cam sction) ของร่องบนลูกทรงกระบอก และลูกทรงกระบอกนั้นยึดติดกันไว้ด้วยตัวกัน (stopper)
การเปลี่ยนเกียร์นั้น ทำได้โดยการเลื่อนเฟืองเกียร์สามบนเพลาใหญ่ของเกียร์ และเฟืองเกียร์สองบนเพลากลับ ซึ่งเป็นเฟืองที่ต่อกับก้ามปู ลักษณะของเฟืองเมื่ออยู่ในเกียร์ต่าง ๆ นั้น แสดงไว้ในรูปต่าง ๆ ต่อไปนี้ (รูป83, 84, 85, 86, 87)






การทำงานของที่เหยียบสตาร์ท
ที่เหยียบสตาร์นั้นอยู่ที่ตอนหลังของเกียร์, ฟันเฟือง (pinion gear) ของที่เหยียบสตาร์ทนั้นเข้ากับเฟืองเกียร์ต่ำของชาฟท์กลับ ซึ่งต่อกับเพลาข้อเหวี่ยงโดยผ่านชาฟท์ใหญ่ของเกียร์ เมื่อกดที่เหยียบสตาร์ลง ฟันของลิ้นสปริง (ratchet pawl) ก็จะเกาะกับฟันเฟืองของที่เหยี่ยบสตาร์ท ทำให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน เมื่อปล่อยที่เหยียบสตาร์ทฟันของลิ้นสปริงก็จะค้างอยู่บนปลอกของแกนที่เหยี่ยบสตาร์ทกัน มิให้เข้าไปขัดกับฟันเฟือง (รูป83)



อัตราทดของเกียร์
จำนวนฟันของเฟืองและอัตราทดของเกียร์ที่ใช้มีดังต่อไปนี้


การถอดเกียร์และที่เหยียบสตาร์ท
1.ตั้งเครื่องกลับหัวลงบนแท่นรองรับที่เหมาะ แล้วถอดส่วนให้ใต้ของอ่างข้อเหวี่ยง หลังจากที่ถอดชิ้นส่วนที่อยู่ภายใน ฝากรอบอ่างข้อเหวี่ยง ข้างซ้ายและข้างขวาออกแล้ว ปลดสปริงดึงแกนที่เหยียบ (kictk spindle) ซึ่งติดอยู่กับอ่างข้อเหวี่ยงตอนบน
2
.แล้วจึงถอดชาฟท์ใหญ่ของเกียร์, ชาฟท์กลับและแกนที่เหยียบพร้อมทั้งเฟือง, ลูกลื่นและปลอกรอง อาจถอดจากอ่างข้อเหวี่ยงตอนบนได้ (รูป88) (รูป90)



3.ใช้คีมถ่างแหวนถอดแหวนยึดจากชาฟท์ใหญ่และชาฟท์กลับซึ่งทำหน้าที่ยึด เฟืองเกียร์สองของชาฟท์ใหญ่ และเฟืองเกียร์สามของชาฟท์กลับถอดเฟืองโซ่ออกโดยการคลายสลักเกลียว 6 ม.ม. 3 ตัว เครื่องที่มีเบอร์ประจำเครื่องสูงกว่า ซี92อี-925610 แล้วเปลี่ยนมาใช้สลักเกลียวเพียงสองตัว แล้วจึงถอดผนึกกันน้ำมันรั่วและลูกปืนใหญ่จากเพลา
4.ถอดแหวนยึด ทางซ้ายของเพลาเปลี่ยนเกียร์ เคาะปลายแกนที่เหยียบ เปลี่ยนเกียร์ด้านที่มีรอยหยักด้วยค้อนไม้ พร้อมกับกดก้านที่เหยียบ เปลี่ยนเกียร์ (a) แล้วถอดก้านตัวกันออกมาพอให้ส่วนที่ยึดพ้นจากตัวนำของก้านเปลี่ยนเกียร์ (grar shift arm gnide)(รูป91)
5.ถอดสลักเกลียวแกนของก้านตัวกันที่เปลี่ยนเกียร์(b) แล้วถอดก้านตัวกันออก ถอดตัวนำลูกทรางกระบอกสำหรับเปลี่ยนเกียร์ (shift drum guide) ซึ่งติดอยู่บนลูกลื่น อยู่ตอนบนสุดของอ่างข้อเหวี่ยง (รูป92) สำหรับเครื่องแบบธรรมดา ถอดสลักเกลียวสองตัวที่ยึดตัวนำลูกทรงกระบอกแล้วจึงถอดตัวนำออก (สำหรับเครื่องแบบ ซีเอ95, ซีบี92, และแบบที่ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศแบบ ซี92 ทุกแบบที่มีเบอร์ประจำเครื่อง สูงกว่าซี 92 อี-12001 (รูป93) เคาะแผ่นล๊อคซึ่งพับขึ้นเหนือสลักบังคับก้ามปูเปลี่ยนเกียร์ (selector fork guide pin) ให้แบบลงโดยใช้สิ่งกับค้อนเล็ก แล้วจึงถอดสลักบังคับก้ามปูนั้นออก ถอดตัวหมุนเปลี่ยนเกียร์ว่างจากท้ายลูกทรงกระบอก แล้วจึงถอดลูกทรงกระบอกออกจากอ่างข้อเหวี่ยงตอนบนได้ (รูป94)





การตรวจซ่อมแซมเกียร์
1.ก่อนถอดอ่างข้อเหวี่ยง ตรวจดูรอยซึมหรือรั่วจากผนึกกันน้ำมันรั่ว หรือปลัก
xxx ข้ามเพราะไม่ชัดxxx

การประกอบเกียร์และที่ถีบสตาร์ท
1.ลูกทรงกระบอกสำหรับเปลี่ยนเกียร์
1.1 วางตอนบนของอ่างข้อเหวี่ยงลงบนแท่นสำหรับประกอบเครื่องยนต์ โดยให้ส่วนอยู่สูงสุด หลังจากที่ใส่สลักเกลียวสองปลายทุกตัวและผนึกกันน้ำมันรั่วแล้ว
1.2
สอดลูกทรงกระบอกสำหรับเปลี่ยนเกียร์ เข้ารูใหญ่บนอ่างข้อเหวี่ยงตอนบน  ดันให้เข้าอยู่ระหว่างก้ามปู แล้วใส่ลูกลื่นปลายเล็กของลูกทรงกระบอกเข้ากับตัวอ่างข้อเหวี่ยง ลักษณะของก้ามปูนั้นต้องหันเข้าหากันดังที่ แสดงไว้ใน (รูป94) สอดสลักเกลียวบังคับก้ามปูเข้าที่พับแผ่นล้อคขึ้นเพื่อยึดให้อยู่ในร่องที่ถูก ต้องบนลูกทรงกระบอกขันให้แน่นแล้วพับแผ่นล็อคตามแนวข้าง (ไม่ใช่ที่มุ่ม) วิธีตั้งมุมให้ตรงกับผิดด้านข้าง อย่าหมุนไปทางที่จะคลายให้หลวม แต่ให้หมุนไปในทางที่จะขันให้แน่นเข้าอยู่เสมอ
1.3
ติดที่เปลี่ยนเกียร์ว่างตัวอยู่กับที่ (Stator) เข้ากับอ่างข้อเหวี่ยงแล้วติดตัวหมุน (rotor) เปลี่ยนเกียร์ว่างเข้ากับปลายของลูกทรงกระบอก (รูป 91)
1.4 สอดสลักเกลียวยึดลูกทรงกระบอก (gear shift drumpins) เข้ากับปลายด้านใหญ่ของลูกทรงกระบอก แล้วยึดไว้ด้วยแผ่นนำ (guide plate) แล้วจึงติดตัวกัน ลูกทรงกระบอกพร้อมกับสปริงให้เข้าที่สำหรับเครื่องธรรมดาแบบ ซี92 และซี 95
1.5 กลับอ่างข้อเหวี่ยงคว่ำลงแล้วใส่สลักเกลียวบังคับลูกทรงกระบอกพร้อมทั้งปลอกด้วย สำหรับเครื่องแบบซีเอ95 ติดตั้งตัวกัน ลูกทรงกระบอกพร้อมด้วยสลักเกลียวสองตัวจากภายนอกอ่านอ่างข้อเหวี่ยง
2.ที่ถีบสตาร์ท
ใสเฟืองของที่ถีบสตาร์ท ลิ้นสปริง, ปลอกแกนที่ถีบสตาร์ทและแหวนรับแรงอัดเข้ากับแกนของที่ถีบสตาร์ท เพื่อให้อยู่ในลักษณะที่แสดงไว้ในรูป
87 แล้วบังคับปลายไว้ด้วยแหวนล้อคใส่แกนที่ถีบสตาร์ทเข้ากับอ่างข้อเหวี่ยง โดยให้ที่กันปลอกของแกนที่ถีบสตาร์ทนั้นเข้าอยู่
3.ชาฟท์กลับ
3.1 ตอกตลับลูกปืนให้เข้ากับชาฟท์กลับเพื่อให้ร่อยที่อยู่บนขอบนอกเข้าติดกับเฟือง
3.2 ใส่ผนึกกับน้ำมันรั่วเบอร์ 204/712TC เข้ากับชาฟท์กลับโดยระมัดระวังอย่าให้ขอบเสียไป
3.3 ใส่เฟืองเกียร์สามเข้าชาฟท์กลับพร้อบกับใส่แหวนรองรับ แล้วจึงบังคับให้ติดอยู่กับชาฟท์ด้วยแหวนสำหรับยึด
3.4 ใส่เฟืองเกียร์สองเข้าไปก่อน แล้วจึงใส่เฟืองเกียร์ต่ำเข้ากับชาฟท์ ต่อไปก็สวมปลอกแหวนขนาด 14 ม.ม. เข้ากันที่ปลายชาฟท์กลับ
3.5 ใส่สลักเดือยและแหวนยึดเข้าทั้งสองข้างรูของชาฟท์ทั้งชาฟท์กลับและชาฟท์ใหญ่
3.6 ใส่Cluster ของชาฟท์กลับ เข้ากับอ่างข้อเหวี่ยงโดยให้เข้าอยู่กับรอยเว้าเพื่อให้รูที่ปลอกลูกปือนตรงกับรูน้ำมัน พร้อมกันนี้เฟืองเกียร์สองของชาฟท์กลับ (ซึ่งใช้เลื่อนไปมาได้) ควรจะเข้าอยู่กับก้ามปูตัวที่ถูกต้อง
4.Cluster ของชาฟท์ใหญ่ของเกียร์
4.1 เคาะตลับลูกปืนเบอร์ 6204HB ให้เข้าชาฟท์ใหญ่โดยให้ร่องบนขอบนอกของตลับลูกปืนเข้าอยู่ด้านใน สวมเฟืองเกียร์สองของชาฟท์ใหญ่ให้เข้ากับเฟือง ที่ถูกขับ ของชาฟท์ใหญ่โดยให้ด้านที่เรียบหันเข้าหาเฟืองตัวนั้นยึดเฟืองไว้ด้วยแหวนรองรับและแหวะสำหรับยึด
4.2 สวมเฟืองเกียร์สาม เฟืองเกียร์สี่ และปลอกกันให้เข้ากับชาฟท์
4.3 ใส่Cluster ของเฟืองเกียร์ให้เข้ากับรอยเว้าเช่นเดียวกับชาฟท์กลับ
4.4 ใส่ผนึกกันน้ำมันกันรั่วเบอร์ 8258TC เข้ากับปลายของปลอกโดยให้ผนึกนั้นเข้าอยู่ในรอยที่ทำไว้บนอ่างข้อเหวี่ยง
5.ทายาประเก็นบนผิวที่ประกบกัน และใส่สลักเดือย หน้าและกึ่งหลัง แล้วจึงใส่ส่วนใต้ของอ่างข้อเหวียง ขันสลักเกลียวและน๊อตทุกตัวให้แน่น
6.ใส่สลักตัวกันสปริงสำหรับดึงที่เปลี่ยนเกียร์ให้กลับที่ ให้เข้ากับด้านนอกของส่วนใต้ของอ่างข้อเหวี่ยง แล้วจึงใส่ส่วนประกอบของก้านที่เปลี่ยนเกียร์ เข้ากับรูปที่บนอ่างข้อเหวี่ยงให้เข้าที่โดยเรียบร้อย โดยที่ได้ติดสปริงดึงก้านเปลี่ยนเกียร์ให้กลับที่กับสปริงของก้านที่เปลี่ยนเกียร์ไว้ก่อนแล้ว ใส่แหวนรองให้เข้ากับผนึกกันน้ำมันรั่ว ทางด้านซ้ายของอ่างข้อเหวี่ยง และใส่แหวนสำหรับยึดเข้ากับแกนที่ถีบสตาร์ท
7.ใส่ลูกลื่นสำหรับกันลูกทรงกระบอกเปลี่ยนเกียร์เข้ากับแกนสลักเกลียว บนลูกทรงกระบอกพร้อมกับใส่สปริงเข้าที่ด้วย (สำหรับเครื่องธรรมดาที่มีเบอร์ก่อนเบอร์ E เบอร์ C92E012001 ) สอดลูกลื่นสำหรับกัน พร้อมด้วยสปริงและตัวนำให้เข้ากับอ่างข้อเหวี่ยงตอนบน (สำหรับการเปลี่ยนเกียร์แบบวิธีเปลี่ยนกลับ)
8.ขั้นสุดท้ายประกอบฝาครอบอ่างข้อเหวี่ยงด้านซ้าย ก้านที่เหยียบเปลี่ยนเกียร์และก้านที่เหยียบสตาร์ท ตั้งก้านที่เปลี่ยนเกียร์สำหรับเครื่องแบบซีบี 92






วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คลัทช์

คลัทช์ประกอบด้วยแผ่นผ้าคลัทช์ 4 แผ่น และแผ่นรับ 4 แผ่น ติดอยู่ที่ปลายขวาของชาฟท์ใหญ่ของเกียร์ บังคับให้อยู่ด้วยแหวน เฟืองขับเคลื่อนเอก (Primary drive gear) นั้นย้ำไว้ด้วยหมุด 6 ตัว ให้ติดกับคลัทช์ โดยมีแผ่นยางกันกระแทกใส่ไว้เพื่อรับแรงกระตุกจากการเร่งเครื่อง หรือการผ่อนความเร็วไม่ให้ส่งต่อไปยังเกียร์
เมื่อบีบคัยบังคับคลัทช์ จะทำให้ตัวแยกคลัทช์ (clutch lifter) หมุนดันแกนของคลัทซ์ (clutch rod) ทำให้คลัทช์แยกออกจากเกียร์



1.การถอดคลัทช์
1.1 ถอดฝาครอบอ่างข้อเหวี่ยงขวา โดยคลายสกรูหัวกากบาท 11 ตัว
1.2 ถอดหม้อกรองน้ำมันซึ่งสวมอยู่ที่ปลายเพลาข้อเหวี่ยง
1.3 ถอดสลักเกลียว (ขนาด 6 ม.ม.) 4 ตัว ซึ่งยึดแผ่นคลัทช์ (รูป 75) แล้วจึงถอดแผ่นคลัทซ์และสปริงของคลัทช์ออก




1.4 ดึงตัวแยกคลัทช์ออก (รูป76) และแกนดันแยกคลัทช์ออกมาทั้งชุด
1.5 ถอดแหวนยึดคลัทช์ที่ปลายชาฟท์ใหญ่ของเกียร์ โดยใช้เครื่องถอดแหวน แล้วจึงถอดตัวกลางของคลัทซ์ (clutch centre) ออกได้ (รูป77)
1.6 ถอดปั้มป็น้ำมันแบบใช้ลูกสูบออก โดยการถอดน๊อตสลักเกลียวสองปลายและสลักเกลียวที่ใช้ยึด
1.7 ถอดฝานอก (clutch outer) ของคลัทช์และปั้มป็น้ำมันออกมาเป็นชิ้นเดียวกัน ถอดแหวนรับแรงอัด (Thrust washer)
1.8
ถอดก้านลูกสูบและลูกสูบจากตัวปั้มป์น้ำมัน
1.9 ถ้าจำเป็นก็ให้ถอดก้านลูกสูบจากฝาคลัทซ์ โดยถอดแหวนที่ใช้ยึดออกเสีย ถ้าคีมถ่างแหวนออก (set ring remover)



1.10 วางด้านซ้ายของเครื่อง ถอดฝาครอบอ่างข้อเหวี่ยงข้างขวา ถอดสลักเกลียวขนาด 6 ม.ม. ซึ่งได้ติดแผ่นยึดที่สำหรับตั้งคลัทซ์ (Clutch adjuster fixing piece) แล้วจึงถอดส่วนประกอบที่ตั้งคลัทซ์ออกมาจากฝาที่เก็บได้ (รูป80) ปลดสปริงดึงก้านคลัทซ์ (cluatch lever spring) จากฝาที่เก็บนั้น
1.11 คลายเกลี่ยวของส่วนประกอบที่แยกคลัทซ์เสียจากที่สำหรับตั้งคลัทซ์ (รูป79)




2.การตรวจและซ่อมแซมคลัทซ์
2.1 ตรวจลักษณะภายนอกของส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อหาที่เสียหรือมีตำหนิ เปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียนั้น
2.2 วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของฝาคลัทซ์ ให้เปลี่ยนเสียใหม่ถ้าไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ในรายการค่ามาตรฐาน
2.3 วัดความหนาของแผ่นคลัทซ์และผ้าคลัทช์ เพื่อหาดูความสึกหรอว่าอยู่ภายใจกำหนดหรือไม่ วัดการบิดเบี้ยวของผิวหน้าของแผ่นเหล่านี้ได้โดยการวางลงกับแผ่นเรียบ แล้ววัดดูช่องบนหรือรอบแผ่นคลัทซ์ ซึ่งมองเห็นได้จากผิวเรียบนั้น กำหนดขนาดบิดเบี้ยว ซึ่งจะยังยอมให้ใช้ได้นั้นอยู่ในรายการค่ามาตรฐาน
2.4 วัดความสูงตามปกติของสปริง และความฉากของสปริงของคลัทซ์ทุกเส้น ให้เปลี่ยนเสียถ้าสปริงตัวใดผิดไปเกินกำหนดที่ให้ไว้ในรายการค่ามาตรฐาน
2.5 ตรวจดูสภาพทั่ว ๆไปของเฟืองขับและเฟืองที่ถูกขับ ความหลวม(back lash) ของเฟืองคู่นั้น ๆ ตรวจดูลักษณะการสึกหรอว่าเกิดขนาดหรือเปล่า ถ้าสึกหรอเกินขนาดหรือเสียแล้ว ก็ให้เปลี่ยนเฟืองนั้นเสียใหม่
2.6
เปลี่ยนผนึกกันน้ำมันรั่ว (oil seal) ซึ่งติดอยู่ที่ตั้งตัวแยกคลัทซ์ (lifter fread adjuster) ถ้ามีลักษณะว่าจะมีน้ำมันรั่ว
3.การประกอบคลัทซ์
3.1 หลังจากที่ใส่ก้านเปลี่ยนเกียร์ (gear shift arm) และสปริงที่ถีบสตาร์ท ตลอดจนส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เข้าในอ่างข้อเหวี่ยง และจึงจะเริ่มประกอบคลัทซ์ (รูป81)
3.2 สอดแหวนรับแรงอัด (thrust washer) ขนาด 20 ม.ม. เข้ากับชาฟท์ใหญ่ของเกียร์

 


ติดประเก็นของปั้มป์น้ำมันเข้าไป และติดฝานอกคลัทซ์พร้อมกับตัวประกอบปั้มน้ำมันเข้าเป็นชิ้นเดียวกันกับส่วนนอกของคลัทซ์ ใส่ฝานอกคลัทซ์ที่ประกอบแล้ว ยึดไว้ด้วยแหวนยึดเข้ากับชาร์ฟใหญ่ของเกียร์ขันน๊อตสลักเกลี่ยวสองปลายและสบักเกลียวที่ยึดปั๊มป็น้ำมัน
3.3 ใส่แผ่นคลัทซ์ B ไว้ล่างสุด แล้วจึงใส่แผ่นผ้าคลัทซ์ 4 แผ่นสลับกันกับแผ่นคลัทซ์ A 3 แผ่น
3.4 สอดแกนแยกคลัทซ์ และข้อต่อเข้ากับชาฟท์ใหม่ของเกียร์ ใส่แผ่นอัดคลัทซ์ (clutch pressure plate) และสปริงของคลัทซ์เข้ากับปลอกที่ยื่นออกมาของตัวกลางของคลัทซ์ ขันสปริงและแผ่นยึดให้แน่นด้วยสลักเกลี่ยว (6 ม.ม.) 4 ตัว
3.5 สวมหม้อกรองน้ำมันที่ประกอบแล้วเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยงแล้วติดฝาครอบขวาพร้อมกับประเก็นเข้าไป
3.6 ติดที่ตั้งคลัทซ์ที่ประกอบแล้วเข้ากับฝาครอบอ่างข้อเหวี่ยงข้างซ้าย แล้วติดเข้ากับสปริงดึงกลับ อัดจาระบีเข้ากับปุ่มที่อัดจารบีโดยใช้เครื่องอัด
3.7 ตั้งคลัทซ์ตามที่อธิบายไว้