คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เครื่องทดสอบ Service tester

เพื่อความสะดวกในการตรวจและตั้งเครื่องไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า มีเครื่องทดสอบชุดหนึ่งทำรวมไว้เป็นชุดเดียว สามารถใช้ทำการทดสอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


ตรวจกระเสร์ไฟ---ไฟแดงสว่างเมื่อมีกระแสร์ไฟ---ใช้ตรวจหากระแสร์ไฟ
การนำไฟฟ้า---ไฟแดง---วัดหาการขาดของสายไฟและสวิทซ์
ความต้านทาน---มิเตอร์---วัดหาความต้านทานของขดลวดโท และเครื่องแปลงไฟ
ฉนวน---มิเตอร์---ตรวจดูฉนวนของคอดเดนเซอร์และใช้วัดด้วย
ประจุของคอนเดนเซอร์---มีเตอร์---หาขนาดประจุของคอนเดนเซอร์
0-06 ไมโครฟารัดหรือต่ำกว่านี้
กำลังโวลต์ไฟสลับ---มิเตอร์---ตรวจแบตเตอรี่และเครื่องใช้ไฟฟ้า
0-15โวลต์
การแสร์ไฟตรง---มิเตอร์---กระแสร์ไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสร์ไฟสำหรับอัดแบตเตอรี่
15 แอมเปร์ทั้งสองแบบ
ความเร็วของการหมุน---มิเตอร์---ความเร็วของจำนวนรอบที่ข้อเหวี่ยงและส่วนที่หมุนตัวอื่น ๆ
0-6000 รอบต่อนาที
ไฟออกจากไดนาโม---มิเตอร์---ใช้วัดไฟออกจากไดนาโม
1และ2 ,0-15โวลต์
การทดสอบคอยล์---วัดระยะกระโดยของไฟสปาร์คโดยใช้เครื่อง
3เขี้ยว---วัดหาแรงไฟสปาร์คจากคอยล์
การตั้งไฟ---โดยใช้ไฟตั้งเวลา---ตรวจเวลาสปาร์คและมุมที่ระเบิดก่อนถึงจุดยอดของเครื่องตั้งความเร็ว

วิธีการปฏิบัติในการใช้เครื่องทดสอบนี้ มีให้พร้อมกับเครื่องทดสอบ การทดสอบนั้นอาจทำได้โดยการต่อสายที่ใช้ต่อไปยังส่วนของเครื่องไฟฟ้าที่ต้องการทดสอบแล้วแต่จุดมุ่งหมายของการทดสอบ

สวิทซ์ไฟต่าง

สวิทซ์รวม
สวิทรวมเป็นที่รวมสวิทซ์ของไฟทั้งสำหรับให้ความสว่างและสำหรับเดินเครื่อง เป็นสวิทซ์ติดอยู่ทางซ้ายของไฟหน้า สวิทชืนี้เปิดให้อยู่ได้
4 ลักษณะ มีลูกกุญแจเหมือน ๆ กันให้มาพร้อมกับจักรยานยนต์คันละ 3 ดอก (บางคราวผู้จำหน่ายอาจเก็บไว้ดอกหนึ่ง ซึ่งจะใช้เป็นประโยชน์ได้ เมื่อเจ้าของรถทำกุญแจหาย) การถอดสวิสออก ให้ถอดไฟหน้าออกก่อนแล้วไขน๊อต ซึ่งอยู่ข้างนอกของสวิทช์ด้วยกุญแจมีปลายเข็มพิเศษ แล้วจึงถอดตัวสวิทช์ออก เมื่อประกอบคืนอย่าลืมตั้งรอยนูนบนสวิทช์ให้ตรงกับช่องที่ทำไว้ที่ ๆ ใส่ฟหน้า ตรวจดูการเดินสาย ถ้าสวิทช์ทำงานไม่ปกติไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใด ๆ ถ้าการเดินสายถูกต้างแล้ว ที่เสียก็อยู่ที่สิวทซ์ ควรปฏิบัติตามตารางวงจรเมื่อทำการทดสอบการเดินสาย



สวิทช์ไฟกระพริบ ไฟหรี่ ปุ่มกดแตร และปุ่มสำหรับติดเครื่อง
มีสวิทช์ไฟหรี่และปุ่มกดแตรอยู่ทางด้านซ้อยของแฮนเดิ้ล และสวิทช์ไฟกระพริบปุ่มสำหรับติดเครื่องอยู่ทางขวาของแฮนด์สิวทช์ทุกตัวเก็บอยู่ที่เก็บสวิทช์ ถ้าปุ่มต่าง ๆ เกิดทำงานไม่สะดวกหรือไม่ทำงานหรือที่ปิดเปิดเสีย หรือต่อสายผิด ก็จำเป็นจะต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ สำหรับเมื่อที่ปิดเปิดเสีย หรือปุ่มทำงานไม่ถูกต้อง ถอดสลักเกลี่ยวสองตัวที่อยู่บนที่เก็บสวิทช์บนแฮนเดิ้ล ถอดที่เก็บสวิทช์ออกแล้วแก้ข้อเสียนั้นเสีย ถ้าต้องเปลี่ยนส่วนที่เกี่ยวกับสายรัด สายไฟ ถอดน้อตยึดแฮนเดิ้ล ถอดไฟหน้าออก ตัดสายไฟที่ข้อต่อในที่ไฟหน้า และถอดที่รัดสายไฟจากแฮนด์ ควรใช้ความระมัดระวังการสอดสายรับสายไฟเข้าในแฮนด์เมื่อประกอบคืน
สวิทช์ไฟแสดงเกียร์ว่าง
ถ้าหากรถอยู่ในเกียร์ว่างแล้วปิดสวิทช์ขึ้น หลดไฟแสดงเกียร์ว่างก็จะติดอยู่ ในกรณีที่ไฟไม่ติดเนื่องจากที่ปิดเปิดของสวิทช์เสีย ให้เปลี่ยนสวิทช์ใหม่ที้งตัวหรือเปลี่ยนเฉพาะปุ่มต่อที่เปิดปิดได้ ปุ่มต่อปิดเปิดของตัวหมุนซึ่งทำด้วยเบคีไลต์นั้นติดกับแกนของลูกทรงกระบอก เปลี่ยนเกียร์ด้วยสกรูขนาด
6 มม. โดยติดอยู่ที่อ่างข้อเหวี่ยนตอนบนใตฝาที่เหยี่ยบสตาร์ทและมีสายต่อไปยังตัว stator ซึ่งอยู่บนอ่างข้อเหวี่ยงนั้น


สวิทช์ไฟห้ามล้อ
ไฟห้ามล้อนั้นอยู่ในกระบอกเล็ก ๆ ติดอยู่ใต้ฝาครอบซ้ายข้างหน้าแบตเตอรี่ ใช้บังคับด้วยที่เหยี่ยบห้ามล้อ ให้ดูตามหัวข้อที่ว่าด้วยที่เหยียบห้ามล้อ เพื่อศึกษาถึงส่วนประกอบ มีลักษณะคล้ายสำหรับสวิทช์สำหรับกดอย่างธรรมดา แต่ที่ตัวกระบอกมีน๊อตสำหรับตั้งสองตัว ซึ่งอาจใช้ตั้งให้เปิดไฟห้ามล้อ เมื่อเหยียบห้ามล้อไม่ว่ามุมของที่เหยียบห้ามล้อนั้นจะอยู่ที่เท่าใด ไฟห้ามล้อนั้นควรตั้งให้เปิดเมื่อเหยียบหน้าล้อลงไป
1/3




วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อุปกรณ์เบ็ตเตล็ด

แตร
แตรที่ใช้เป็นแตรใช้ขดลวดไฟสลับ และใช้กระบอกแตร
(trumpet) เป็นตัวช่วยเสริมเสียงให้ดังและไพเราะ รูปตัดของแตรนั้นมีแสดงไว้ตามรูป แตรนั้นทำให้มีเสียงได้ด้วยการทำให้แผ่นลิ้น(diaphragm) สั่นโดยใช้กำลังแม่เหล็ก แล้วจึงขยายเสียงที่ได้ให้ดังด้วยขดของกระบอกในแตร ความดังของแตรนั้นได้ 100-105 ฟอนส์ที่ระยะสองเมตรจากข้างหน้าของแตร หลังจากที่ใช้แตรมาเป็นเวลานาน ที่ผิวของปุ่มสัมผัส (Contact point surfaces) จะไม่เรียบและกระแสร์ก็จะลดลง ทำให้เสียงเบาและฟังไม่เพราะ ใช้ถอดฝาครอบแตรออกคลายน๊อตสำหรับล๊อค และตั้งน๊อตตัวที่ใช้สำหรับตั้ง วิธีการตั้งเพื่อให้เสียงดังและดีขึ้นก็คือขันน๊อตสำหรับตั้งไปตามเข็มนาฬิกา ตั้งให้ได้เสียงที่เหมาะที่สุด แล้วขันน๊อตสำหรับล๊อคให้แน่น ลิ้นของแตรนั้นทำด้วยแผ่นโลหะที่แข็งและบางมาก ถ้าหากแผ่นนี้เกิดชำรุดทำให้เสียงที่ได้นั้นไม่ดีแล้ว ต้องเปลี่ยนแผ่นลิ้นนี้เสีย เมื่อแตรไม่มีเสียงก่อนตรวจตัวแตร ให้ตรวจที่ปุ่มกดแตรและขั้วต่อไฟต่าง ๆ เสียก่อน


ไฟกระพริบ
ตัวรีเลย์
(relay) ของไฟกระพริบนั้นติดอยู่ในตัวถัง โดยมีแผ่นยึดติดไว้ด้วยสลักเกลียว ส่วนประกอบของเครื่องรีเลย์นั้นแสดงไว้ตามรูป โดยใช้สปริงดึงต้านแรงแม่เหล็ก อัตรากระพริบตามปกติคือ 60-120 ครั้งต่อนาที ถ้าไฟไม่กระพริบแต่ติดอยู่เมื่อเปิดสวิทซ์ แสดงว่าหลอด ๆ หนึ่งในจำนวน 2 หลอดที่อยู่ด้านนั้นขาดแล้ว ถ้าทั้งสองหลอดหน้าและสองหลอดหลังกระพริบพร้อมกัน เมื่อเปิดสวิทซ์ไฟด้านใดด้านหนึ่งแสดงว่าเดินสายผิด





ถ้าทั้งสองดวงที่อยู่ด้านเดียวกันนั้นติดอยู่ตลอดหรือการกระพริบไม่สม่ำเสมอ หรือด้านใดด้านหนึ่งไม่ยอมติดเลย แสดงว่ารีเลย์ชำรุด ในกรณีย์เช่นนี้ให้เปลี่ยนรีเลย์เสียใหม่
ไฟหน้า
ไฟหน้ามีอยู่
2 แบบ ทั้งสองแบบใช้แทนกันได้ แบบหนึ่งนั้นคือแบ่งกิ่งอัดกระจกปิดตาย (fully sealed beam) รายละเอียดของไฟหน้าทั้งสองแบบแสดงอยู่ในรูป ไฟที่มีกระจกหน้ากิ่งอัดปิดนั้นมีกระจกหน้าและโคมสท้องแสงติดอยู่กับตัวพร้อมทั้งทีขั้วสำหรับใส่หลอดไฟ ขั้วนี้อาจถอดออกได้สำหรับใช้เปลี่ยนหลอดไฟ ไฟหน้าแบบปิดตายนั้นถอดหลอดออกไม่ได้ เมื่อไส้ขาดต้องเปลี่ยนไฟหน้าทั้งชุด ส่วนดีของไฟหน้าชนิดปิดตายนี้ก็คือใช้หลอดใหญ่กว่าได้ ทำให้ได้ไฟสว่างกว่า และใช้ใส้ยาวกว่า ทำให้มีความร้อนน้อยกว่าเมื่อความสว่างเท่ากัน จึงทำให้หลอดทนมาก แสงไฟที่ใช้หลอดทั้งสองแบบคือ 6-8 โวลต์ 3-5 วัตต์และที่ไฟหรี่ 25 วัตต์ ให้ความสว่างถึง 20,000 แรงเทียน ที่ตรงกลางเมื่อส่งบนจอห่างจากไฟหน้า 10 เมตร และให้ความสว่าง 5,000 แรงเทียนที่ตอนกลางคืนเมื่อใช้ไฟหรี่



มุมส่องของไฟหน้าอาจตั้งได้ด้วยสกรูสำหรับตั้ง ถ้าต้องการให้ส่องขึ้นก็ขันสกรูเข้า ถ้าต้องการให้ส่องลงก็คลายสกรูออก ในการตั้งนั้นควรให้ผู้ขับขี่นั่งอยู่บนจักรยานยนต์แล้วส่องไฟไปที่จอ




หลอดไฟกระพริบ
ใช้หลอดพิเศษทำเป็นรูปทรงกระบอกติดเข้าในกระจกสีเหลืองทั้งสองข้าง และทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
ไฟท้ายและไฟห้ามล้อหรือไฟเบรก
ไฟท้ายนั้นมีกระจกใสปิดอยู่ และไฟห้ามล้อก็มีกระจกสีแดงปิดอยู่ หลอดที่ใช้เป็นหลอดสองไส้ขนาด
6-8 โวลต์ 3 วัตต์ สำหรับไฟท้ายและขนาก 6-8 โวลต์ 6 วัตต์ สำหรับไฟห้ามล้อ ไฟห้ามล้อนั้นเปิดขึ้นด้วยสวิทซ์ไฟห้ามล้อซึ่งติดอยู่กับห้ามล้อหลัง การถอดหลอดให้ถอดสกรูสองตัวซึ่งใช้ยึดกระจกไว้ออกเสียก่อน
ไฟหน้าปัทม์และไฟแสดงเกียร์ว่าง
ไฟหน้าปัทม์นั้นอยู่หลังหน้าปัทม์บอกความเร็ว และไฟแสดงเกียร์ว่างก็อยู่ที่โคมไฟหน้า หลอดทั้งสองมีขนาด
6-8 โวลต์ 3 วัตต์ การจะถอดหลอดใดหลอดหนึงออกนั้นต้องถอดไฟหน้าออกเสียก่อน แล้วจึงคลายสกรูเอาหลอดออก ไฟแสดงเกียร์ว่างนั้นยึดให้อยู่กับที่ด้วยปลอกยาง




สายรัดสายไฟ
สายรัดสายไฟนั้นเป็นที่รวมสายไฟจากแบตเตอรี่ที่ต่อไปยังที่ใส่ไฟหน้า โดยยึดติดอยู่กับตัวถังด้านซ้าย เดินไปตามข้างตัดถังตามซอกของถ้งน้ำมัน แล้วผ่านเข้าตัวถังทางช่องที่เจาะไว้ที่ต่อสายไฟเท่านั้นอยู่ที่ใส่ไฟหน้า ข้อต่ออื่น ๆ หลายตัวนั้นมัดรวมกันอยู่ด้วยที่ต่อทำด้วยพลาสติกเป็นรูปจตุรัส ปิดไว้ด้วยท่อย่างแล้วยึดไว้เหนือช่องมองอยู่ทางด้านขวาของตัวถัง บรรดาสายไฟจากแบตเตอรี่นั้นเดินผ่านช่องเหล็กที่ใช้เสริมตัวจังและด้านข้างขวาของถ้ง เพื่อกันไม่ให้สายเกิดเสียหานขึ้นจากฝุ่น ไอน้ำ หรือหินที่กระเด็นขึ้นมา เมื่อทำการต่อสาย ระมัดระวังการต่อสายที่มีสีและลวดลายเหมือนกันเท่านั้น มิฉะนั้นอาจจะเกิดไฟไหม้หรือการลัดวงจรขึ้ก็ได้ ควรดูทำตามรูปวงจรเสมอเมื่อทำการต่อสายไฟ