คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

หัวเทียน

หัวเทียน
หัวเทียนที่ใช้ในรถจักรยานยนต์ ฮอนด้า
150 และฮอนด้า 125 นั้นมีดังนี้


สำหรับการใช้ตามปกติ หัวเทียนควรจะแห้งสนิท และมีผิวสีเทาบาง ๆ หรือค่อนข้างไปทางน้ำตาล และฉนวนกลางควรมีรอยเกรียมเป็นสีเหลืองทอง



1.การระวังรักษาหัวเทียน
ใช้เครื่องทำความสะอาดหัวเทียนหรือแปลงลวดทำความสะอาดหัวเทียน ถ้าเกิดมีเขม่าจับขึ้นหรือเปียก หลังจากที่ทำความสะอาดแล้วตั้งระยะเขี้ยวให้ได้
0.6-0.7 มม. เปลี่ยนหัวเทียนที่เสียหรือมีเขี้ยวสึกไปมาก ๆ ถ้ามีเครื่องทดสอบหัวเทียนก็ให้ทดสอบหัวเทียนภายใต้ความดัน 7-10 ปอนด์ ของความดันอากาศ เปลี่ยนหัวเทียนตัวที่ไม่ทำงานเมื่อทดสอบการใส่หัวเทียน ขันเข้าด้วยมือก่อน แล้วจึงขันแน่นด้วยนิ้ว จากนั้นก็ให้ขันเข้าไปอีก ¼ รอบ โดยใช้กุญแจปลอกสำหรับขันหัวเทียน อย่าลืมแหวนหัวเทียนเข้าไปด้วย
2.การหาที่เสียในหัวเทียน


ปุ่มสตาร์ทนั้นอยู่บนแฮนเดิ้นทางขวา เมื่อกดปุ่มนี้ลงก็จะมีกระแสร์ไฟ 100 แอมแปร์ไหลเข้าสู่มอเตอร์สำหรับสตาร์ท ทำให้มอเตรอ์หมุน กำลังนี้ก็ส่งต่อไปยังเครื่องด้วยโซ่ ทำให้เครื่องหมุนและติดได้ หลังจากที่เครื่องติดแล้ว คลัทซ์อัตโนมัติที่เรียกว่า over-running clutch ก็ตัดการติดต่อระหว่างมอเรอร์และเครื่องยนต์เสีย
การเดินสายของวงจรเป็นตามแบบข้างล่างนี้


ก.มอเรอร์สำหรับสตาร์ท
ขนาดกำลังของมอเตอร์ขณะที่กำลังใช้ติดเครื่องมีดังนี้
2.3 โวลต์ 200 แอมแปร์ แรงหมุน 1.8 กก.ม. 0.3 แรงม้า ระหว่างมอเตอร์และข้อเหวี่ยงนั้นมีอัตราทดอยู่ 2 ตอน
ขั้นแรก  จากเพลา-เฟืองโซ่
(planetary gear) 7.33:1
ขั้นที่สอง เฟืองโซ่-เฟืองข้อเหวี่ยง                              2.77:1
รวม                                                                       20.3:1
เมื่ออากาศเย็น ข้อเหวี่ยงจะหมุนด้วยความเร็ว 250-300 รอบต่อนาที
1.การถอดและประกอบ
ดูรูปแยกส่วนประกอบ (รูป
3-15) ถอดฝาจากสองข้างของมอเตอร์สำหรับสตาร์ท ขันสลักเกลียวขนาด 6 มม. ตัวยาว 1 ตัวและตัวสั้น 3 ตัว ซึ่งติดอยู่บนมอเตอร์ แล้วถอดโซ่จากมอเตอร์ ถอดแหวนที่ใช้ยึดเฟืองโซ่ไว้ แล้วจึงถอดเฟืองโซ่ซึ่งเข้ากับเพลาของมอเตอร์ที่มีรอยหยัก ออกได้ คลายสลักเกลียวที่บนห้องเกียร์ แล้วแยกตอนหน้าของมอเตอร์ออก มีเฟืองหมุน (planetary gears) 3 ตัวติดอยู่กับแผ่นรับแผ่นหนั่งด้วยแกนถอดเฟืองรูปวงแหวน(ring gear) จากข้างตัวมอเตอร์ ถอดฝาครอบคอมมิวเตเตอร์ (commutator) และสกรูจากตอนหลังของมอเตอร์ ต่อไปดึงเอาลูกลื่นคอมมิเตเรอร์และขดลวดอารัมมาเจอร์ออกจากภายใจ คลายสกรุยึดขั้วแปรงถ่าน (Brush) แล้วถอดแปรงนั้นออกโยการดึงที่สปริง กลับลำดับข้างบนนั้นเสีย เพื่อประกอบ แต่ถ้าจะให้ดีให้ใส่เฟืองโซ่เข้ากับเพลาเสียก่อนแล้วจึงใส่เฟืองหมุน (planetary gears)


2.การตรวจ และระวังรักษา
เฟืองนั้นโดยปกติแล้วไม่เสียง่าย ถ้าหากเกิดมีรอยแตกกะเทาะจากฟันเฟืองให้ถอดสลักสำหรับยึดเฟืองนั้นออกแล้วก็เปลี่ยนเฟืองตัวที่แตกหรือกะเทาะนั้นเสีย เมื่อตัวทองแดงของ
Commutator สึกหรอไป ประสิทธิภาพของมอเตอร์ก็จะลดลง ควรให้ช่างผู้ชำนาญทำการเซาะร่องไมก้า (mica) ซึ่งใช้เป็นฉนวนเสียใหม่ แปรงที่สึกหรอ และสปริงอาจเปลี่ยนได้ง่ายโดยการถอดฝาครอบลูกลื่นออกเท่านั้น ถ้ามอเตอร์สำหรับสตาร์ทเกิดไปจมน้ำอยู่ ถอดมอเตอร์ออกเป็นชิ้นและทำให้ชิ้นส่วนภายในแห้งเสียให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข.สวิทซืแม่เหล็กสำหรับติดเครื่อง
เนื่องจากกระแสร์ไฟที่ใช้ในมอเตอร์สำหรับติดเครื่องนี้สูงถึง
100 แอมแปร์ จึงต้องใช้สายไฟที่มีขนาดใหญ่และมีที่ต่อสายเป็นพิเศษ สวิทซ์แม่เหล็กนั้นมีไว้ก็ด้วยเหตุผลข้อนี้เอง(รูป3-14) เมื่อใช้สวิทซ์แม่เหล็กนี้เป็นเวลานาน ๆ แล้ว แผ่นที่ใช้ต่อสัมผัสก็อาจไหม่ได้เนื่องมาจากกระแสร์ไฟสูงมาก ทำให้ความต้านทานมีเพิ่มมากขึ้นและในที่สุดกระแสร์ไฟก็จะหยุดไหล ในกรณีเช่นนี้เมื่อกดปุ่มสตาร์ทจะมีเสียงดังคลิ้กเกิดขึ้น แต่มอเตอร์ไม่หมุน ให้ถอดสวิทซ์เสีย เอาสกรู 2 ตัวออกแล้วขัดแผ่นที่ใช้ต่อสัมผัส ด้วยตะไบอย่างละเอียดหรือกระดาษทราย
ค.คลัทซ์สำหรับแยกมอเตอร์ออก (over-runnig clutch)
คลัทซ์สำหรับแยกมอเตอร์ออกนี้ ออกแบบมาเพื่อให้ส่งแรงหมุนจากมอเตอร์ไปยังเพลาข้อเหวี่ยงได้ แต่เมื่อเครื่องติดแล้ว แรงหมุนจากเครื่องยนต์นั้นไม่ส่งกลับมายังมอเตอร์ ส่วนประกอบนั้นมีแสดงไว้ตามรูป 3-16 โดยลูกลื่นทั้ง 3 ตัวถูกดันออกมาด้วยสปริงตามทิศทางของลูกศรเล็ก ๆ ที่เขียนไว้และเฟืองกับปลอกลิ่ม (onter wadge) นั้นหมุนไปด้วยกัน


และทำให้หมุนไปด้วยกันกับเพลาข้อเหวี่ยงด้วย เนื่องจากว่าปลอกลิ่มนั้นต่อกับตัวหมุนของไดนาโมด้วยสกรู 3 ตัว เมื่อเครื่องติดแล้ว และเพลาข้อเหวี่ยงหมุนเร็วกว่ามอเตอร์สำหรับสตาร์ท ลิ่มของคลัทซ์ก็หมุนไปด้วย ทำให้ลูกลื่นทั้ง 3 ตัวถูกแรงเหวี่ยงดันกลับกับสปริง ทำให้คลัทซ์แยกตัวออกจากแกนและแรงหมุนจากเครื่องก็ส่งต่อมายังเฟืองของมอเตอร์สำหรับสตาร์ทไม่ได้
1.การถอดและการตรวจ
ถอดฝาครอบข้างขวาและฐานของตัว
stator ของไดนาโม ถอดเฟืองขับโซ่ของมอเตอร์สำหรับสตาร์ท แล้วถอดมอเตอร์ออก ตัวหมุนของไดนาโมและเฟืองโซ่นั้นดึงออกจากเพลาข้อเหวี่ยงพร้อมกันได้
1.ตรวจอ่างข้อเหวี่ยงและผนึกกันน้ำมันรั่วของเฟืองสำหรับสตาร์ท
2.เปลี่ยนปลอกรองแกนเฟืองสำหรับสตาร์ท ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางภายใจแสดงว่าหลวมเกินไป
3.ตรวจดูที่ซึ่งลูกลื่นของเฟืงสตาร์ทเข้ามาดันติดอยู่เพื่อดูรอยกดและรอยสึกหรอบนลิ่มตัวนอกของคลัทช์ (clutch onter wedge) เปลี่ยนส่วนที่สึกหรอเสีย
4.ตรวจสปริงของลูกลื่น
2.การประกอบ
ใส่สปริง
3 ตัวเข้าที่ สวมฝาครอบสปริงเข้ากับคลัทซ์เข้ากับตัวหมุนของไดนาโมด้วยสกรู 3 ตัวและขันให้แน่น ใส่สลักลิ่มเข้ากับช่องบนเพลาข้อเหวี่ยงโดยให้ตรงกับร่องบนตัวหมุนของไดนาโม แล้วหมุนแกนไปตามแนวหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง ดันตัวหมุนให้ติดอยู่ตัวเฟืองโซ่ พร้อมกับยึดโซ่ไว้ให้อยู่กับที่ เป็นอันว่าใส่คลัทซ์เข้าที่ได้แล้ว ประกอบเครื่องให้เสร็จด้วยการใส่เครื่องเลื่อนระยะเวลาจุดระเบิด และฐานของไดนาโม ทาลูกลื่นด้วยจาระบีที่ไม่เหนี่ยว (ช่นพวกจาระบี silicon DC44) อย่างบาง ๆ เพื่อประกอบกันเข้าเครื่อง



อุปกรณ์ไฟฟ้า


3.อุปกรณ์ไฟฟ้า
อุปกรณ์เครื่องไฟฟ้านั้นแบ่งออกได้เป็น
5 จำพวก แบตเตอร์รี่สำหรับเก็บไฟฟ้าเครื่องปั่นไฟ เครื่องสตาร์ท เครื่องจุดระเบิด และเครื่องให้แสงสว่าง นอกจากนี้แล้วยังมีไฟกระพริม แตร ไฟแสดงว่าอยู่ในเกี่ยร์ว่าง ที่รองรับสายไฟรวมอยู่ในจำพวกเครื่องไฟฟ้าเบ็ตเตล็ด
3-1 แบตเตอรี่
แบตเตอรี่นั้นเก็บอยู่ในกล่องข้างซ้ายของตัวถัง เมื่อเครื่องเดิมด้วยความเร็วปกติ กระแสร์ไฟที่ได้จากไดนาโมไฟสลับ และผ่านการเปลี่ยนให้เป็นไฟตรงด้วยเครื่องแปลงไฟ
(selenium rectifier) นั้นพอเพียงที่จะจ่ายให้แก่ระบบการจุดระเบิด (iguition) ให้แสงสว่างและให้กระแสร์ไฟต่อเครื่องประกอบไฟฟ้าอื่น ๆ เมื่อเครื่องยังไม่ติด การติดเครื่องด้วยมอเตอร์สำหรับสตาร์ทหรือเมื่อต้องใช้กระแสร์ไฟมากกว่าที่ได้จากไดนาโม แบตเตอรี่ก็จะทำหน้าที่จ่ายกระแสร์ไฟให้พอ หม้อแบตเตอรี่พลาสติกนั้นมี 3 เซล์ แต่ละเซล์มีแผ่นขั้วบวกอยู่ 7 แผ่น ขั้วลบ 8 แผ่น แผ่นในเซล์นั้นแยกไม่ให้มีการติดต่อด้วยแผ่นกั้น (separator) และแช่อยู่ในน้ำยา (Electrolyte solution) กรดกำมะถันและน้ำกลั่น ขนาดบรรจุของแบตเตอรี่พอจ่ายกรแสร์ได้ 11 แอมแปร์ชั่วโมง ที่ 6 โวลต์ ขั้วบวกนั้นต่อเข้ากับเครื่องแปลงไฟโดยมีฟิวส์กันอยู่ และขั้วลบนั้นต่อเข้ากับตัวถังโดยใช้สายดิน
1.การถอดและติดตั้งแบตเตอรี่
ถอดฝาครอบกล่องแบตเตอรี่ออก ถอดที่ยึดหม้อแบตเตอรี่ออกโยการคลายสลักเกลี่ยว
6 มม.ออก


ตัดสายจากขั้วแบตเตอรี่ทั้งสองขั้วแล้วจึงถอดแบตเตอรี่ออกได้ เมื่อใส่แบตเตอรี่คืน เช็คแบตเตอรี่ให้สะอาดแล้วขันสายที่ต่อขั้วทั้งสองให้แน่น (รูป3-1) ควรดูให้แน่ว่าท่อระบายอากาศของหม้อแบตเตอรี่นั้นไม่เยินจนปิดรูไว้
2.การซ่อมแซม
แบตเตอรี่นั้นส่งไปยังต่างประเทศโดยไม่ได้อัดไฟไว้และไม่มีน้ำยา เมื่ออัดแบตเตอรี่ครั้งแรกนั้นให้ปฏิบัติตามวิธีการที่ให้มาพร้อมกับแบตเตอรี่ซึ่งมีข้อความว่า การระวังรักษาแบตเตอรี่นั้นต้องการแต่เพียงรักษาระดับของน้ำกรดไว้ให้อยู่ในระดับที่กำหนด ถ้าระดับลดลงเร็วผิดปกติ ให้ตรวจดูไดนาโมว่าให้กระแสร์ไฟแรงเกินไปหรือเปล่า ความสัมพันธ์ระหว่างความถ่วงจำเพาะของน้ำกรด และปริมาณของกระแสร์ไฟที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่มีดังนี้


ค่าที่ให้นี้เป็นค่ามาตรฐานที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ให้ใช้สูตรต่อไปนี้คำนวณหาสำหรับที่อุณหภูมิอื่น
ความถ่วงจำเพาะที่ 20 องศาเซลเซียส =( (ความถ่วงจำเพาะที่ tองศาc) + 0.007)(t –20องศาc)
ตามสูตรข้างต้น t คือ อุณหภูมิของน้ำกรดเป็นเซนติเกรด
ถ้าความถ่วงจำเพาะลดลงต่ำกว่า
1.210 เมื่อกลับมาให้ได้ค่าที่ 20 องศาc แล้วก็ต้องอัดแบตเตอรี่
แบตเรอรี่แห้ง


1.ข้อควรระวังก่อนการใช้
แบตเตอรี่มีผ่านแห้งที่อัดไฟไว้แล้ว แต่ไม่มีน้ำยา เมื่อต้องการใช้แบตเตอรี่ หรือไม่มีเวลาพอ หรือเครื่องอัดไฟไม่เหมาะสำหรับการอัดไฟครั้งแรก อาจใช้แบตเตอรี่เลยก็ได้ โดยการเติมน้ำกรดให้พอ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้อัดไฟครั้งแรกเสียทุกหม้อ
2.การเติมน้ำกรด
ใช้น้ำยากรดกำมะถันเจือจาง มีขนาดความถ่วงจำเพาะต่ำกว่า
30 องศาc เติมน้ำกรดให้ได้ระดับน้ำยาตามต้องการ(max)
3.ปล่อยแบตเตอรี่ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่เติมน้ำกรดแล้ว ก่อนที่จะเริ่มทำการอัด ถ้าในระหว่างนี้ระดับน้ำกรดลดลงก็ให้เติมขึ้นมาจนถึงระดับเส้นบน
4.การอัด
ใช้อัดเมื่ออุณหภูมิของน้ำกรดนั้นต่ำกว่า
30องศาc ด้วยอัตรที่ให้ไว้ข้างต้น เป็นเวลา 15 ถึง 20 ชั่วโมง ถ้าอุณหภูมิของเซลล์สูงกว่า 45 องศาc ในระหว่างที่กำลังอัด ให้หยุดการอัดลงสักครู่ แล้วลดกระแสร์ไฟที่ใช้อัดลงให้เหลือเพียงครึ่งเดียว ถ้าระดับของน้ำยาลดลงในระหว่างที่อัด ให้เติมด้วยน้ำกลั่น เพื่อนำระดับขึ้นมาให้ถึงเส้นบน
5.การอัดให้เต็ม
ในการอัดระยะสุดท้าย จัดให้ได้ความถ่วงจำเพาะระหว่าง
1.250 และ 1.270 ที่อุณหภูมิ 20 องศาc แล้วอัดต่อไปอีก 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่อัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ล้างแบตเตอรี่ด้วยน้ำสะอาดแล้วมำให้แห้งเสีย
6.การใช้
1.ก่อนใช้ ดึงเอาแทปที่ใช้ปิดรูฝา แล้วเปิดท่อสำหรับให้น้ำยาล้นออกได้
2.อย่างลืมต่อท่อปลาสติกสำหรับน้ำยาล้นออก เข้ากับแบตเตอรี่ เมื่อติดตั้งแบตเตอรี่เข้ากับรถจักรยานยนต์
การเป็นสนิม (Snlphation)
ถ้าไฟไหลออกจากแบตเตอรี่มากเกินไป จะทำให้เกิดการเป็นสนิมขึ้น และมีผมขาว ๆ เกิดขึ้นที่ชั้วบวก ทิ้งไว้นาน ๆ ก็จำทำให้มีผงขาวตกตะกอนที่ก้อนของเซลล์ ถ้าเกิดมีการเป็นสนิมขึ้น ให้เปิดฝาหม้อแบตเตอรี่ออก ถ่ายน้ำกรดเก่าออกให้หมด ล้างให้สะอาดด้วยน้ำหลาย ๆ ครั้ง จะกระทั่งผมขาว ๆ หมดไป แล้วจึงเติมน้ำยาเข้าไปใหม่แล้วอัดไฟให้เต็ม
ไฮโดรมิเตอร์
ใช้วัดความถ่วงจำเพาะของน้ำกรด


ระบบการอัดไฟประกอบด้วยไดนาโมไฟสลับ และเครื่องแปลงไฟกระแสร์ไฟสลับที่ได้จากไดนาโมนั้นเปลี่ยนเป็นไฟตรงสำหรับใช้อัดแบตเตอรี่


ก. ไดนาโมไฟสลับ
มีแมกนีโตถาวร
6 ขั้ว ติดเข้ากับที่ปลายเพลาข้อเหวี่ยง และหมุนอยู่กลางตัว stator มีขดลวดพัน 6 ตัว ไดนาโมนั้นเป็นแบบที่ออกมาเป็นพิเศษ เพื่อควบคุมกระแสร์ไฟที่ส่งออกโดยอัตโนมัติ กระแสร์ไฟที่ไหลออกนั้น ไม่เป็นอัตราส่วนโดยตรงกับจำนวนรวมของเครื่อง ดังนั้นจึงไม่ร้องใช้เครื่องควบคุมกำลังโวลต์ของไฟที่ได้ ( รูป 3-3)


เมื่อเปิดไฟขึ้น จะทำให้ได้ใช้คอยล์ทุกตัว แต่สำหรับเมื่อเครื่องเดินในเวลาทำงานแล้วใช้คอยล์เฉพาะบางตัวเท่านั้น
1.การถอดประกอบ
ตัดสายไฟออกและถอดฝาครอบอ่างข้อเหวี่ยงข้างขวาและฝาครอบบังโซ่ ขันสกรูที่ยึดไดนาโมออก แล้วจึงถอดสกรูที่ยึดสายไฟไว้กับอ่างข้อเหวี่ยง ปลดสายที่ขั้วของสวิทซ์ไฟเกียร์ว่าง
(nentral switch) แล้วจึงถอดเครื่องเลื่อนเวลาจุดระเบิด (spark advancer) และใช้เครื่องดึงตัวหมุนของไดนาโมออกมา อาจประกอบไดนาโมคืนได้โดยการปฏิบัติกลับตามลำดับข้างบนนั้น


2.การตรวจและซ่อมแซม
1.ใช้เครื่องมือสำหรับทดสอบ (service tester) หรือแอมมีเตอร์ เพื่อวัดหากระแสร์ไฟที่ส่งออกจากไดนาโม วัดกระแสร์ไฟที่ได้จากเครื่องปั่นไฟเมื่อเครื่องเดินด้วยความเร็วต่างกัน 3 ค่ากระแสร์ไฟปกติดสำหรับใช้อัดแบตเตอรรี่ขนาด 6-8 โวลต์นั้น ใช้ไว้ในตารางข้างบ้างและไดนาโมควรจะให้กระแสร์ไฟสำหรับอัดอยู่ใจระหว่าง + 0.2 แอมแปร์ ต่อค่าความเร็วหนึ่งรอบต่อนาที่ (each rpm) ที่อ่านได้
ความเร็วของรถถ้าอยู่ในเกียร์สูงสุด                             30 กม/ชม.       50 กม/ชม
จำนวนรอบต่อนาทีของเพลาข้อเหวี่ยง
 1,000              2,200           3,700
กระแสร์ไฟที่ได้(เวลากลางวัน)             +1.0                 +4.5              +6.5
กระแสร์ไฟที่ได้(เวลากลางคืน)             -3.0                 -1.0                +2.3
2.เมื่อกำลังแม่เหล็กของตัวหมุนอ่อนลง ให้ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ชำนาญพิเศษเป็นผู้เพิ่มกำลังแม่เหล็กขึ้นมาใหม่
ข.เครื่องแปลงไฟ (Selenium Rectifier)
เครื่องแปลงไฟนั้นใช้เปลี่ยนกระแสร์ไฟสลับ ซึ่งได้จากการเหนี่ยวนำในไดนาโมให้เป็นกระแสร์ไฟตรงใช้สำหรับอัดแบตเตอรี่  เครื่องกลับไฟนั้นประกอบด้วยแผ่นเซเลเนียม มีขนาด 850 มม. และใช้แปลงไฟเต็มที่ (full wave rectification) เพื่อกันไม่ให้เกิดการต่อเข้ากับสายไฟหรือสายอื่น ๆ รอบ ๆ ขอบของแผ่นต่าง ๆ นั้นมียางหุ้มอยู่
1.การถอด
เครื่องแปลงไฟนั้นติดอยู่ด้วยน๊อต
1 ตัวไปทางซ้ายของตัวถัง อยู่ใต้ตอนกลางของถังน้ำมัน อาจถอดออกได้โดยใช้กุญแจขันน๊อตด้ามยาวขัน ถอดคาร์บูเรเตอร์ออกก่อนแล้วจึงถอดเครื่องกลับไฟจากช่องที่หลังคาร์บูเรเตอร์ ปลดสายจากขั้วของเครื่องแปลงไฟโดยใช้ไขควง


2.การติดตั้ง
ต่อสายเข้าที่ขั้งของเครื่องกลับไฟตามสีของสาย ระวังอย่าให้ยุ่งกับสายไฟหรือสายอื่น ๆ และไม่ควรใช้ฉนวนในการติดตั้ง เพราะเครื่องแปลงไฟนั้นใช้ต่อลงดินเข้ากับตัวถังที่ติดตั้ง เครื่องแปลงไฟจะมีการไหม้ไป ถ้าไท่เกิดการลัดวงจรขั้นที่ผ่านตัวเครืองแปลงไฟ
3-3 ระบบจุดระเบิด (IGNITION SYSTEM)
ระบบการจุดระเบิดนั้นออกแบบมาให้ส่งประจุไฟแรงสูงถึง 15,000 ถึง 20,000 โวลต์ ไปยังหัวเทียนแต่ละตัวตามจังหวะเวลาที่พอดีที่จะจุดระเบิดส่วนผสมของอากาศและไอน้ำมัน ซึ่งอัดอยู่ในลูกสุบ ระบบการจุดระเบิดประกอบด้วยส่วนประกอบ 7 ส่วน ซึ่งได้แก่ สวิทซ์ไฟติดเครื่อง คอยล์สำหรับจุดระเบิด(ignition coil) จานจ่ายไฟ(distributor) ทองขาว(breaker points) คอนเดนเซอร์ หัวเทียนและแบตเตอรี่
สำหรับเครื่องที่มีเบอร์สูงกว่า C92E-937065 หรือ C95-915183 ไม่มีจานจ่ายไฟ ในเครื่องเหล่านี้มีระบบการจุดระเบิดพร้อมกัน (Simnltaneouns ipnition system) คือทำให้หัวเทียนทั้งสองจุดพร้อมกัน คือแต่ละไซเกิลหัวเทียนแต่ละหัวก็จะจุดระเบิด


ก.คอยล์สำหรับจุดระเบิด (IGNITION COIL)
จากเครื่องที่มีเบอร์ประจำเครื่องเหมือนกันนั้น คอยล์สำหรับจุดระเบิดนั้นตั้งอยู่ภายในของตัวถังแทนที่จะอยู่ข้างซ้ายของอ่างข้อเหวี่ยง คอยล์สำหรับจุดระเบิดนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญต่อการทำงานของเครื่อง



1.การเปลี่ยนคอยล์จุดระเบิด
ถอดฝาครองอ่างข้อเหวียงขวา และฝาครอบบังโซ่ ถอดสกรูยึดคอยล์ออก ถอดสายไฟเอก
(primary wire) และสายไฟโท(secondary wire) จากขั้วที่ฝาของจากจ่ายไฟ แล้วจึงถอดฝาของจานจ่ายไฟออก ถอดฝาครอบที่เก็บแบตเตอรี่กับแบตเตอรี่ออก ถอดถาดรองเครื่องมือซึ่งติดอยู่กับเครื่องกรองอากาศออก คลายน๊อตยึดคอยล์จากภายใจของตัวถังออก ถอดขั้วสายเอก และฝาครอบหัวเทียนจากสายโท (สำหรับเครือ่งแบบจุดระเบิดพร้อมกัน) ประสิทธิภาพของคอยล์ที่ใช้ในเครื่องแบบมีหม้อจ่ายไฟและเครื่องแบบไม่มีหม้อจ่ายไฟนั้นเหมือนกัน ดังนั้นคอยล์จึงใช้แทนกันได้ ในกรณีนี้ควรติดฝาครอบหม้อจ่ายไฟเข้ารับฝาครอบข้างหัวสูบ เพื่อป้องกันฝุ่นและสายโทก็ต่อไปยังหัวเทียนได้โดยตรง
การทดสอบคอยล์
1.ทดสอบดูกำลังแรง
ของแนะนำให้ใช้เครื่องทดสอบแบบมีเข็มเป็นขั้ว
3 เข็ม สำหรับทดสอบกำลังของไฟที่ส่องออกจากคอยล์ (รูป3-10) หรืออาจใช้เครื่องทดสอบก็ได้ ต่อสาย+ของเครืองทดสอบไปยังสายโท และต่อสายดิน- เข้ากับตัวถัง ต่อหัวเทียนเข้ากับอีกปลายหนึ่งของสายโท หมุนเพลาข้อเหวี่ยงโดยการใช้มอเตอร์สำหรับสตาร์ท วัดระยะกระโดดของไฟสปาร์คระหว่างขั้วใหญ่ทั้งสองขั้ว ซึ่งอาจหาได้โดยการเลื่อนระยะระหว่างเข็มออกไปจนกระทั่งไม่มีไฟสปาร์คกระโดยข้ามช่องนั้น ระยะที่วัดได้ไม่ควรต่ำกว่า 8 มม. เมื่อเครื่องเดินด้วยความเร็วระหว่าง 300 ถึง 3,000 รอบต่อนาที
2.การทดสอบการนำไฟฟ้า (Conduction test)
การทดสอบการไฟฟ้านี้ก็เพื่อหาดูว่ามีสายขาดหรือเกิดการลัดวงจรขึ้นในคอยล์หรือเปล่า ใช้เครื่องทดสอบโดยการต่อสายหนึ่งไปยังขั้วของคอยล์และอีกสายหนึ่งไปลงดิน หรือเข้ากับแกนกลางของคอยล์ อาจใช้เครื่องมือทดสอบ การทดสอบเมื่อต่อลงดินควรจะแสดงว่าไม่มีความต้านทานภายในคอยล์ และการสอบเมื่อต่อเข้ากับแกนกลางควรจะแสดงว่าวงจรนั้นเปิดอยู่ ถ้าหากผลการทดสอบไม่เป็นไปตามนี้ให้เปลี่ยนคอยล์เสีย
ข.ทองขาว (Breaker points)
ทองขาวนั้นติดอยู่ทางปลายด้านซ้ายของเพลาข้อเหวี่ยง ตรงที่ซึ่งมีฝาครอบทางขาวติดอยู่ คอนเดนเซอร์ติดอยู่ทางซ้ายของอ่างข้อเหวี่ยง
1.การเปลี่ยนทองขาว
ถอดฝาครอบทองขาวจากฝาครอบอ่างข้อเหวี่ยงข้างซ้าย แล้วไขสกรูที่ยึดก้านและปุ่มทองขาวออก หลังจากที่เปลี่ยนทองขาวแล้วให้ตั้งไฟใหม่ให้ถูกต้อง
2.การซ่อมทองขาว
ตรวจดูปุ่มทองขาวเพื่อหาดูรอยเขม่า รอยขรุขระ และรอยไหม้ ถ้าทีคราบน้ำมันอยู่ที่ปลายปุ่มทองขาวจะทำห้เครื่องเดินไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงให้เช็ดปลายปุ่มทองขาวเสียให้สะอาดด้วยผ้าแห้ง ถ้าปุ่มทองขาวมีรูขรุขระมากเกินไปจนฝนให้เรียบด้วยตะไบไม่ได้ ให้เปลี่ยนทองขาวเสีย
ค.เครื่องเลื่อนระยะเวลาจุดระเบิด (Spark Advancer)
เครื่องเลื่อนระยะเวลาจุดระเบิดนี้ติดอยู่กับหัวหมุนของไดนาโม อยู่ข้างหลังแผ่นฐานของทองขาว ใช้สำหรับควบคุมระยะเวลาการจุดระเบิดที่ความเร็วสูง เครื่องเลื่อนระยะนี้จะอยู่ที่ 5 องศา ก่อนถึงศูนย์ตายล่าง(BTDC) ที่ความเร็วเครื่อง 900-1,200 รอบ ต่อนาที แล้วเลื่อนขึ้นถึง 45 องศา ก่อนถึงศูนย์ตายล่าง เมื่อเครื่องเดินด้วยความเร็ว 2,300-2,700 รอบต่อนาที


มุมที่เลื่อนและตำแหน่งที่เลื่อน โดยสัมพันธ์กับความเร็วเครื่องเป็นจำนวนรอบต่อนาทีอาจวัดได้โดยใช้เครื่องทดสอบ (Service tester) ถ้าหาค่ามุมที่เลื่อนไม่คงที่ที่ความเร็วใด ๆ ก็ตาม หรือน้อยหรือมากกว่าที่ให้ไว้ข้างต้น ให้เปลี่ยนเครื่องเลื่อนระยะเวลาจุดระเบิดเสีย
การเปลี่ยนเครื่องเลื่อนระยะเวลาการจุดระเบิด
ถอดฝาครอบทองขาว และแผ่นฐานของทองขาว ตรวจดูว่าสปริงอยู่ในสภาพดีและทีเพลาของลูกเบี้ยวบังคับปุ่ม
(point cam) มีจาระบีมาไว้อย่างพอเพียง
ง.คอนเด็นเซอร์
คอนเดอนเซอร์นั้น ใช้ปุ่มทองขาวเพื่อรับเอากระแสร์ที่มากเกินไปไว้ และช่วยให้ทองขาวทำงานได้ถูกต้อง ขนาดของประจุคือ
0.2 ไม่โครฟารัด คอนเดนเซอร์ที่เสียนั้นบางคราวอาจรู้ได้จากการที่ทองขาวไหม้มาก ไฟสปาร์คอ่อนหรือติดเครื่องยาก ใช้เครื่องทดสอบวัดหาความต้านทานของฉนวนระหว่างขั้วและกระบอกที่หุ้มอยู่ แล้วเทียบค่ากับค่าต่อไปนี้
สูงกว่า
50 ล้านโอห์ม--------ดี
50 – 10 ล้านโอห์ม-------ค่อนข้างดี---ควรเปลี่ยนใหม่
ต่ำกว่า
10 ล้านโอห์ม------เสีย-----------ควรเปลี่ยนใหม่
ขั้วของตัวคอนเดนเซอร์จะต้องขันเข้ากับวงจรเอกของทองขาว
(breaker point hrimary circuit) ให้แน่น
จ.จานจ่ายไฟ (Distrivutor)
หม้อจ่ายไฟทำหน้าทีจ่ายกระแสร์ไฟแรงสูงไปยังหัวเทียน ตัวหมุ่นซึ่งอยู่ภายใจฝาครอบ ทำหน้าที่ส่งกระแสร์ไฟต่อไปยังสายซึ่งต่อไปที่หัวเทียนต่าง ๆ
การเปลี่ยนฝาครอบจานจ่ายไฟหรือตัวหมุน
ภายในของฝาครอบจานจ่ายไฟและตัวหมุนนั้นจะต้องรักษาไว้ให้สะอาดอยู่เสมอ



ถ้ามีรอยร้ายหรือมีผงคาร์บอนติดอยู่บนขั้วให้เปลี่ยนเสีย ตัวหมุนที่มีแผ่นสัมผัส (contact plates) และขั้วแกนกลางสึกมากต้องเปลี่ยนเสียใหม่ วิธีการเปลี่ยนฝาครอบจานจ่ายไฟ ปลดสายรัดออกแล้วถอดสกรูที่ยึดสายไฟแรงสูงออก






วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

หน้าปัดวัดความเร็ว ที่ล้อคแฮนเดิ้ลและชุดเครื่องมือ


2-14 หน้าปัดวัดความเร็ว ที่ล้อคแฮนเดิ้ลและชุดเครื่องมือ
ก.หน้าปัดวัดความเร็ว
หน้าปัดวัดความเร็วเป็นแบบใช้
magnetic eddy current ติดอยู่ที่ใส่ไฟฟ้าสำหรับเครื่องแบบซี 92 ซี95 ซีบี 92 และซีเอ 95 หน้าปัดวัดความเร็วนั้นขับเคลื่อนด้วยสายต่อ จากเกียร์ที่แผงดุมห้ามล้อหน้ากระจกหน้าปัดนั้นอัดผนึกติดจึงใช้เปลี่ยนไม่ได้
วิธีการถอดหน้าปัดวัดความเร็ว ให้ถอดไฟหน้าออกเสียก่อน ถอดสายหน้าปัดวัดความเร็วโดยการถอดบังโคลนหน้าแล้วปลดสายจากที่หน้าปัดวัดความเร็วและจากเกียร์ที่อยู่ที่แผงดุมห้ามล้อหน้า
ข.ที่ล้อกแฮนเดิ้ล
ที่ล็อกแฮนเดิ้ลนั้นตัดอยู่ทางขวามือของแกนหมุนล้อ สอดเข้ากับที่ยึดและติดด้วยฝาครอบ อาจเปลี่ยนได้โยการขันสกรูที่ยึดฝาครอบออก
ค.ชุดเครื่องมือและเครื่องประกอบ.เครื่องมือตามที่แสดงไว้ในรูป
2-53 นั้น ใส่ให้ไว้ในถุงเครื่องมือ แล้วเก็บไว้ในกล่องที่เก็บเครื่องมือสำหรับเจ้าของรพเก็บไว้ใช้ มีกระป๋องสี สำหรับแต้มรอบกะเทาะ ฟิวส์อะไหล่สำหรับวงจรไฟฟ้า สูบลม และยางแผ่นพร้อมด้วยยางน้ำก็มีไว้ให้ด้วย


1.กุญแจสำหรับถอดแกนล้อ
2.คีม
3.กุญแจปากตาย 2 หัวขนาด 10 มม. และ 14 มม,
4.กุญแจปากตายสองหัวขนาด 17 มม.และ 19 มม.
5.กุญแจบล็อกถอดหัวเทียน
6.ฟิวส์อะไหล่
7.ด้ามไขควง
8.ไขควงหัวกากะบาดขนาด 8 มม.
9.ไขควงหัวผ่าขนาด 9 มม.
10.ไขควงหัวกากะบาดขนาด 6 มม.
11.กุญแจสำหรับตั้งช่องก้านยกวาล์ว
12.ด้านขัด
13.ตะไบ
14.กุญแจสำหรับตั้งช่องก้านยกวาล์ว
15.แผ่นเกจ์สำหรับวัดระยะช่อง
16.ถุงใส่เครื่องมือ

โครงตัวถัง


โครงตัวถังและบังโคลนหลังนั้นทำเป็นเหล็กชิ้นเดียวกันสองซีก เชื่อมติดเข้าด้วยกัน ตัวถังของเครื่องซีบี 92 นั้นสั้นกว่าของซี 92 และซีเอ 95 และมีผ่านยางกันโคลนอยู่ที่ปลายล่างของบังโคลน (รูป2-50) แกนหมุนล้อหน้านั้นอัดติดแน่นกับตลับลูกปืนและเชื่อมเข้ากับตอนหน้าของตัวถัง เปลี่ยนตลับลูกปื้นถ้าเสีย หลวม หรือเป็นรอย วิธีถอดให้ใช้ค้อนกับแท่งเหล็กตอกออกเบา ๆ



2-13 ที่นั่ง
สำหรับเครื่องซี
92 และซีเอ 95 มีที่นั่งอยู่ 2 แบบ แบบหนึ่งเป็นอานเดี่ยวพร้อมกับมีที่บรรทุกของ และอีกแบบหนึ่งเป็นอานคู่ สำหรับเครื่องแบบซีบี 91 นั้นมีอานคู่ และอานพิเศษสำหรับแข่งโดยตอนหลังของอานโค้งขึ้น การเปลี่ยนอานนั้นต้องถอดถังน้ำมันออกเสียก่อน