คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การทำความสะอาดหม้อกรองน้ำมันเครื่อง

1.ถอดหม้อกรองน้ำมันออก และดึงเอาไส้กรองน้ำมันออกมา
2.ถอดฝาครอบไส้กรองน้ำมันออก แล้วล้างข้างในของไส้กรองน้ำมันให้สะอาดหมดจดด้วยน้ำมันเบนซิน




การทำความสะอาดแผ่นกรองน้ำมัน (Fuel Strainer)
ผงซึ่งอยู่ภายในที่กรองน้ำมันนั้นอาจมองเห็นจากข้างนอกได้โดยมองผ่านอางปลาสติก ถอดอ่างพลาสติกออก แล้วทำความสะอาดภายในอ่างและกระเปาะมุ่งลวดด้วย




การทำความสะอาดเครื่องกรองอากาศ

เครื่องกรองอากาศนั้นต้องรักษาให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ เมื่อเกิดสกปรกขึ้นก็อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงานของเครื่อง หรือเกิดมีฝุ่นเข้าไปในเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องสึกหรอเร็ว ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดเป็นครั้งคราว
1.ถอดไส้เครื่องกรองอากาศออกตามวิธีทีได้อธิบายไว้ข้างต้น การถอดกรองอากาศ 
2.ทำความสะอาดไส้เครื่องกรองที่สกปรกโยการเคาะเบา ๆ เป่าอากาศอัดเข้าไป หรือขัดภายนอกด้วยแปรงอ่อน ๆ
3.ไส้เครื่องกรองอากาศ ถ้าเปียกน้ำมันหรือน้ำ จะไม่ทำหน้าที่กรองอากาศได้ดีพอ จึงควรระวังอย่าให้ไส้เครื่องกรองอากาศนั้นโดนน้ำมันหรือจาระบีได้ ถ้าหากเกิดโดนน้ำมันหรือจาระบีหรือขาด ให้เปลี่ยนใหม่

การตั้งห้ามล้อ

การตั้งห้ามล้อหลังก็เพื่อแก้ให้ได้ช่วงว่าง (Free play) ในที่เหยียบห้ามล้อที่ถูกต้อง ควรดูให้แน่ว่าห้างล้อไม่ติดหรืออยู่ห่างเกินไป
ห้ามล้อหลัง
1.ตั้งที่เหยี่ยบห้ามล้อหลังจนมีช่วงว่าง 30-40 มม. ก่อนที่ห้ามล้อจะเริ่มทำงาน



2.วิธีการตั้ง ให้ขันน๊อตสำหรับตั้งไปตามทางที่ต้องการ ขันน๊อตเข้าเพื่อลดระยะที่ต้องเหยียบห้ามล้อ และคลายน๊อตออกเพื่อเพิ่มระยะที่ต้องเหยี่ยบห้ามล้อ

ห้ามล้อหน้า
1.ตั้งเพื่อให้มีช่วงว่าง 3-4 มม. ในที่บีบห้ามล้อก่อนที่ห้ามล้อจะเริ่มทำงาน
2.วิธีการตั้ง ให้ขันน๊อตสำหรับตั้งห้ามล้อไปตามทางที่ต้องการ ขันน๊อตเข้าเพื่อลดและออกเพื่อเพิ่มช่วงว่างในที่บีบห้างล้อ
3.การตั้งห้ามล้อของเครื่องซีบี 92
3-1.มีที่สำหรับตั้งห้ามล้อหน้าอยู่ที่สายห้ามล้อ สำหรับการตั้งช่วงว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ
3-2.เมื่อเปลี่ยนห้ามล้อใหม่ ตั้งแกนต่อห้ามล้อ (brike rod) เพื่อให้ลูกเบี้ยวทั้งสองตัวทำงานได้พร้อมกัน ตั้งแกนต่อห้ามล้อที่ตรงข้อต่อเพื่อให้ได้ความยาวที่ต้องการ และระยะระหว่างก้านดึงห้ามล้อตัวบน (upper brake arm) และก้านดึงห้ามล้อตัวล่างเป็นระยะที่ถูกต้อง หลังจากที่ใส่สลักข้อต่อ (Joint pins) และสลักลิ่มแล้ว ตรวจดูความหลวมด้านข้องของแกนต่อห้ามล้อ ถ้าแน่นเกินไปให้ตั้งแกนนั้นใหม่



3-3.การตั้งที่สำคัญนั้น ให้ตั้งที่ตั้งสายห้ามล้อ ซึ่งอยู่ที่ปลายบีบห้ามล้อ เช่นเดียวกับเครื่องธรรมดา
3-4.เมื่อใช้งานห้ามล้อมาอย่างหนัก เช่นในการแข่งขันให้ถอดฝาครอบนำอากาศ (air guide cap) ตั้งที่ล้อหน้าและล้อหลังออก เพื่อให้ห้ามล้อเย็นลงเร็ว สำหรับการใช้งานตาแปกติควรปิดฝานี้ไว้เสมอเพื่อกันฝุ่น และทรายไม่ให้เข้าไปในห้ามล้อ

การตั้งโซ่ขับลูกเบี้ยว (cam chain adjustment)

ถ้าตั้งโซ่ขับลูกเบี้ยวไม่ดี จะทำให้โซ่มีเสียงดัง และควรมีการตั้งโซ่ใหม่ประจำอยู่เสมอ
1.ถอดจุกยางออก และคลายน๊อตล๊อกที่ตั้งโซ่ และสกรูสำหรับตั้งโซ่
2.ถอดฝาครอบรูสำหรับตรวจดูก้านยกของท่อไอเสีย เฝ้าดูก้านยกพร้อมกับหมุนเพลาข้อเหวี่ยงกลังทางก่อน และจึงหมุนกลับมาตามทางปกติ จนกระทั่งก้านยกวาล์วไอเสียเริ่มจะขยับ
3.ขันสกรูตั้งโซ่ขับลูกเบี้ยว จนปลายเริ่มแตะตัวนำสปริงดันโซ่ (cam chain tensioner spring guide) แต่เนื่องจากว่าการเริ่มแตะนี้ไม่อาจตรวจดูได้ด้วยสายตา จึงต้องอาศัยการสัมผัสตรวจดูว่าแตะหรือยัง
4.ยึดสกรูสำหรับตั้งโซ่ไว้ด้วยไขควง แล้วขันน้อตล็อกที่ตั้งโซ่นั้นให้แน่


การตั้งโซ่ขับ

การตั้งโซ่ขับล้อหลังนั้นมีผลต่อกำลังที่ล้อหลังอย่างมาก และยังมีผลต่อความคงทนของโซ่อีกด้วย ถ้าโซ่ตึงเกินไปก็จะทำให้เสียกำลัง ถ้าโซ่หย่อนเกินไปก็จะทำให้สึกเร็ว
1.ถอดจุกยางที่บังโซ่ออกแล้วตั้งโซ่ให้มีช่องว่าง (Free play) 10-20 มม.
2.การตั้งโซ่ให้คลายน๊อตขนาดกลาง ๆ บนแกนล้อและน๊อตปลอกตัวใหญ่บนแกนล้อด้วย จากนั้นก็ขันน๊อตสำหรับตั้งโซ่ไปตามต้องการ ขนน๊อตเข้าเพื่อทำให้โซ่ตึงขึ้น และคลายน๊อตออกเพื่อปล่อยให้โซ่หย่อนลง





3.ขันที่ตั้งทั้งสองข้างให้เท่า ๆ กันทีละนิด แล้วตรวจดูช่วงว่างของโซ่ ควรตรวจดูด้วยว่า รอยบากบนที่สำหรับตั้งทั้งสองข้างนั้นเสมอกัน มิฉะนั้นล้อหลังจะเข้าไม่ตรงกับตัวถัง ทำให้เสียการทรงตัวในเวลาขับขี่

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การตั้งคลัทช์

ถ้าไม่ตั้งคลัทช์ให้ดี รถจักรยานยนต์จะทำงานไม่ได้เต็มที่ แม้ว่าเครื่องยนต์จะอยู่ในสภาพดีเยี่ยมก็ตาม ถ้ารถจักรยานยนต์กระตุกหรือชงักเมื่อเปลี่ยนจากเกียร์ว่างมาเกียร์ต่ำที่ปล่อยคลัชไม่ดี ถ้ารถจักรยานยนต์เร่งไม่ขึ้นตามความเร็วของเครื่องยนต์ คลัทช์อาจลื่น ตั้งคลัทช์ให้ก้านคลัทช์มีช่วงระยะฟรี 10-15 มม. ไว้ก่อนที่ก้านนั้นจะเริ่มทำหน้าทีดึงคลัทช์ออก
1.คลายสลักเกลียว A แล้วตั้งคลัทช์โดยการขันที่ตั้งคลัทช์ คลัทช์อาจลื่นได้ถ้าขันที่ตั้งคลัทช์B แน่นเกินไป และอาจไม่ถอนออกได้หมดเมื่อตั้งที่คลัทช์ไว้หลวมเกินไป
2.เหยียบที่สตาร์ท และตรวจดูว่าคลัทช์ลื่นหรือไม่ และการเข้าและแยกคลัทช์โดยการบีบคลัทช์
3.ควรจะมีช่วงว่างเป็นระยะทาง 10-15 มม. ก่อนที่จะบีบคลัทช์จะทำงาน


4.สำหรับการตั้งใหญ่ ๆ นั้นให้ทำตามลำดับข้อ 1 ถึง 3 แต่เพื่อช่วยให้ตั้งช่วงว่างในที่บีบคลัทช์ง่ายขึ้น มีที่สำหรับตั้งคลัทช์ มีที่สำหรับตั้งคลัทช์ให้ไว้บนสายคลัทช์ของเครื่องซีบี 92 ด้วย


การตั้งคาร์บูเรเตอร์

การตั้งคาร์บุเรเตอร์นั้น ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้วที่ การตั้งคาบูเรเตอร์ 


สภาพของคาร์บูเรเตอร์นั้นเมื่อใช้งานไปก็อาจเปลี่ยนไปได้ จึงต้องตั้งใหม่นิด ๆ หน่อย ๆ อยู่เสมอ เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะการตั้งสำหรับที่ความเร็วต่ำ และต้องมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ความเร็วต่ำขนาด 800-900 รอบต่อนาที นั้นอาจตั้งได้โดยใช้สกรู B สำหรับกันไม่ให้ลิ้นคันเร่งลงมาสุด เมื่อตั้งไว้ถูกต้องแล้วเครื่องก็จะเดินช้า ๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ และจะไม่หยุดหรือชงักเมื่อเปิดคันเร่ง
 

การตั้งช่องระหว่างแกนวาล์วและก้านยก

การตั้งช่วงวางระหว่างแกนวาล์วและก้านยกนั้น สำคัญต่อการที่จะทำให้วาล์วทำงานได้ดี และมีผลต่อการต้งเวลาปิดเปิดวาล์ว ถ้าช่องแคบเกินไปก็จะทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ ถ้าช่องใหญ่เกินไปก็จะทำให้ได้ยินเสียงแกนวาล์วทำงานได้ชัด
1.ถอดฝาครอบทองขาวแล้วตั้งเครื่องหมายชี้บนเครื่องปั่นไฟให้ตรงกันเครื่องหมาย T สำดำบนตัวหมุน
2.ขันฝาครอบ 4 ตัวออกด้วยกุญแจขันแกน (axle wrench) หรือกุญแจปากตาย คลายน๊อตที่ล๊อค แล้วตั้งสกรูสำหรับตั้งช่องโดยใช้กุญแจพิเศษที่ให้มา ให้ได้ช่วงระยะตามที่ต้องการ


ขันสกรูเข้าเพื่อลดระยะช่วง และคลายสกรูออกเพื่อเพิ่มระยะช่องนั้น ระหว่างแกนวาล์วและก้านยกของทั้งวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย เมื่อเครื่องเย็นนั้นควรจะมีขนาด 0.1 มม. ตรวจระยะช่องด้วยแผ่นเกจ์ (thickness gnage) ซึ่งมีให้อยู่ในชุดเครื่องมือ
3.ยึดสกรูที่ใช้ตั้งช่องให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ แล้วขันน๊อตล๊อค หมุนเพลาข้อเหวี่ยงไป 1 รอบ แล้วตั้งวาล์วของสูบตรงกันข้าวด้วยวิธีเดียวกัน
4.หลังจากที่ตั้งเรียบร้อยแล้ว เหยียบที่สตาร์ทหลาย ๆ ครั้งแล้วจึงวัดช่องนั้นอีก

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การตั้งระยะเวลาการจุดระเบิด

ตรวจดูระยะเวลาการจุดระเบิด และผิวของปุ่มทองขาวทุก ๆ 2-3 เดือน การตั้งไฟผิดหรือผิวปุ่มทองขาวไม่ดี จะทำให้การเดินเครื่องไม่เรียบ และจำนวนรอบของเครื่องยนต์ไม่สม่ำเสมอการตั้งไฟที่ความเร็วต่ำ 800-900 รอบต่อนาที โดยที่ไฟจุดระเบิดที่ 5องศา ก่อนที่ลูกสูบจะขึ้นถึงจุดสูงสุด ในขณะที่เครื่องหมาย F ตรงกับรอยสำหรับตั้ง การตั้งไฟเริ่มเลื่นขึ้นเมื่อเครื่องเดินที่ 1,200 รอบต่อนาที และเลื่อนระยะได้ 45 องศาจากเมื่อลูกสูบอยู่ต่ำสุด (BTDC) ที่ 2,300 รอบต่อนาที วิธีการตั้งไฟ



1.ถอดฝาครอบทองขาว หมุนเพลาข้อเหวี่ยงจนกระทั่ง B ตั้งอยู่ที่บนยอดของลูกเบี้ยว C และตั้งช่องของทองขาวให้ได้ 0.3 – 0.4 มม. (0.012-0.016)
2
.การตั้งระยะระหว่างช่องทองขาวโดยคลายสกรู D และเลื่อนสกรูไปทางซ้อยหรือทางขวา ช่องนั้นอาจจะลดลงได้โยการขันสกรูเข้าและเพิ่มขึ้นโดยการขันสกรูออก
3.การตั้งไฟให้หมุนเพลาข้อเหวี่ยงจนกระทั่งเครื่องหมาย F สีแดง บนตัวหมุนนั่นตรงกับเครื่องหมาย J บนตัว Stator ของเครื่องปั่นไฟ คลายสกรู G 2 ตัว ตัวหนึ่งบนสุดของแผ่น และอีกตัวหนึ่งที่ท้ายของแผ่น หมุนแผ่นไปจนถึงจุดที่ปุ่มทองขาวเริ่มแตะกน และขันสกรู G 2 ตัวนั้นเสีย
4.การใช้เครื่องทดสอบหลอดไฟเล็ก เพื่อหาเวลาที่ปุ่มทองขาวเริ่มแตะกัน




5.สำหรับการวัดระยะเวลาจุดระเบิดแบบที่ตั้งทั้งที่เครื่องยังเดินอยู่ ไฟสำหรับตั้งระยะเวลาจุดระเบิดในเครื่องทดสอบนั้นมีประโยชน์มาก อาจใช้หาที่ ๆ จุดระเบิดว่าระเบิดก่อนนานเท่าไหร่ เทียบกบความเร็วเครื่องเป็นจำนวนรอบต่อนาที
6.หลังจากที่ตั้งเรียบร้อยแล้ว หมุนเพลาข้อเหวี่ยวไป 2-3 รอบ แล้วตรวจไฟเสียใหม่นั้นด้วยผ้าแห้งให้สะอาด
7.ผิวที่ปุ่มทองขาวซึ่งมีรอยไหม้หรือเป็นรูนั้น ควรฝนเสียให้เรียบด้วยตะไบและให้เช็คผิวนั้นด้วยผ้าแห้งให้สะอาด
8.ทาจาระบีอย่างดีสักเล็กน้อยที่ที่รองน้ำมันในระหว่างการรักษาตามปกติ
9.เมื่อสนใจเฉพาะที่จะให้ได้กำลังมากที่ความเร็วเครืองสูง ให้ให้ท่อไอเสียแบบ megaphone พร้อมทั้งชุดนมหนูสำหรับรถแข่งใช้กับเครื่องซีบี92 ควรตั้งเวลาจุดระเบิด 10 องศาจากเมื่อลูกสูบอยู่ต่ำสุด โดยการทำเครื่องหมายไว้บนตัวหมุนของไดนาโมห่างจากเครื่องหมาย T 10 องศา โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา หรือตั้งระยะจากเครื่องหมาย T มายัง F องศาก็ได้เช่นกัน