คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:ห้ามล้อเสีย

1.ถ้าห้ามล้อไม่ทำงานอย่างถูกต้อง แม้ว่าจะตั้งช่องว่างไว้ถูกแล้ว อาจเป็นเพราะ
1.1 ผ้าเบรกสึกหรอมาก
1.2 แกนลูกเบี้ยวบังคับผ้าเบรคสึกหรอหมาก
1.3 แกนของที่เหยี่ยบห้อมล้อสึกหรอมาก
1.4 สายห้ามล้อ หรือแกนต่อห้ามล้อหลังติด
1.5 ที่ลูกเบี้ยวบังคับห้ามล้อไม่มีจาระบีอยู่เลย
2.เหยียบห้ามล้อ แล้วมีเสียงดัง อาจแสดงว่า
2.1 ผ้าเบรกสึกมาก
2.2 ผิวผ้าเบรกมีผงหรือของสงปรกติด
2.3 ดุมล้อภายในขรุขระหรือเบี้ยว
2.4 ที่จัดระยะแผงคุมห้ามล้อสึกหรอมาก

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:การเลี้ยวรถเสีย

1.ถ้ารู้สึกว่าเมื่อตอนเลี้ยว การหมุนเลี้ยวหนัก อาจเป็นเพราะ
1.1 ขันขอบตลับลูกปืนรองแกนหมุนล้อไว้แน่นเกินไป
1.2 แกหมุนล้อคด
2.ถ้าล้อแกว่ง หรือกินทางข้างใดข้างหนึ่งขณะวิ่ง อาจแสดงว่า
2.1 ตลับลูกปือนล้อหน้าและ/หรือล้อหลังสึกหรอมาก
2.2 ขอบวงล้อหน้าและ/หรือล้อหลังคด
2.3 ซี่ล้อรถหลวม
2.4 ปลอกรองแกนเข้ากับตะเกียบล้อหลัง หรือปลอกรองแกนของก้านรองรับล้อหน้าหลวม
2.5 ตะเกียบหน้าหรือตัวถังหรือตะเกียบหลังคด
2.6 ตั้งศูนย์ล้อผิด
2.7 สปริงของโซ๊คอับด้านซ้ายและขวาแข็งไม่เท่ากัน

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:เครื่องมืเสียงดังผิดปกติทั้ง ๆ ที่ช่องระหว่างแกนวาล์วและก้านยกตั้งไว้ถูกต้อง

1.ถ้ามีเสียงเคาะก้อก ๆ จากเสื้อสูบในขณะที่เร่งเครื่อง อาจเป็นเพราะ
1.1 เสื้อสูบและลูกสูบหลวมเกินไป
2.ถ้ามีเสียงคล้ายเสียงโซ่แม้ว่าจะตั้งโซ่ขับลูกเบี้ยวอย่างดีแล้ว อาจเป็นเพราะ
2.1 โซ่ขับลูกเบี้ยวสึกหรอมาก
2.2สปริงดันโซ่ลูกเบี้ยวหรือลูกลื่นสึกหรอมาก
3.ถ้าได้ยินเสียงเคาะก้อก ๆ จากในอ่างข้อเหวี่ยง อาจเป็นเพราะ
3.1 ที่ต่อเพลาข้อเหวี่ยง (crank shaft big ent) สึกหรอ
3.2 ลูกลื่นที่เพลาข้อเหวี่ยงสึกหรอมาก
4.ถ้ามีเสียงจากคลัทช์ อาจแสดงว่า
4.1 ช่องระหว่างแผ่นคลัทช์และตอนนอกของคลัทช์กว้างเกินไป
4.2 ช่องระหว่างตัวกลางของคลัทช์ (ctntch cantre) และแผ่นคลัทช์กว้างเกินไป

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:เปลี่ยนเกียร์ไม่สะดวก

1.เมื่อเปลี่ยนเกียร์ไม่ยอมเข้า อาจเป็นเพราะ
1.1 ร่องบนลูกทรงกระบอก (shiftdrum) เสีย
1.2 ก้ามปูสำหรับเปลี่ยนเกียร์ ติดกับลูกทรงกระบอก
1.3 ก้ามปูสำหรับเปลี่ยนเกียร์สึกหรอ
2.ถ้าวิ่ง ๆ ไปแล้วเกียร์หลุดออก อาจเป็นเพราะ
2.1 ที่เกาะบนที่เปลี่ยนเกียร์ (dogs) หลวม
2.2 ก้ามปูสำหรับเปลี่ยนเกียร์หลวมหรือคดงอ
2.3 สปริงกันลูกทรงกระบอกสำหรับเปลี่ยนเกียร์อ่อนมาก

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:คลัทช์กระตุกหรือเข้าไม่เรียบ

1.ถ้ารถเริ่มเคลื่อนด้วยการกระตุกหรือเครื่องดับเมื่อเข้าคลัทช์ อาจเป็นเพราะว่า
1.1 สปริงคลัทช์มีความแข็งไม่เท่ากัน
1.2 แผ่นคลัทช์หรือผ้าคลัทช์บิดเบี้ยว
1.3 แผ่นคลัทช์ที่ตอนนอกของคลัทช์เลื่อนได้ไม่สะดวก

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:กินน้ำมันเครื่องมาก หรือมีควันน้ำเงินหรือดำจากท่อไอเสีย

1.ถ้าเครื่องมีควันเมื่อวิ่งเรียบ ๆ ไปด้วยความเร็วสูงหรือความเร็วต่ำอาจเป็นเพราะ
1.1 กระบอกสูบหรือแหวนลูกสูบหลวม
1.2 ประกอบแหวนเข้าลูกสูปกลับวงบนวงล่าง
1.3 ช่องระหว่างแกนวาล์วไอเสียและตัวนำหลวมเกินไป
2.ถ้ามีควันเกิดขึ้นหลังจากที่ผ่อนคันเร่งลงเร็ว ๆ อาจเป็นเพราะ
2.1 ช่องระหว่างแกนวาล์วไอดีและตำนำหลวมเกินไป
2.2 รูให้อากาศเข้าหรือท่อปลาสติดตัน

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:เครื่องเดินไม่สะดวก หรือ การจุดระเบิดไม่สม่ำเสมอ

1.ตั้งสกรูตั้งอากาศให้ถูกต้อง และถ้ายังไม่หาย อาจเป็นเพราะ
1.1 ตั้งไฟผิด
1.2 แผ่นรองกันความรอ้ยของคาร์บูเรเตอร์ชำรุด
1.3 หัวเทียนเสีย
1.4 คอนเดนเซอร์เสีย
1.5 คอลล์สำหรับจุดระเบิดเสีย
1.6 ทองขาวเสีย
1.7 ช่องระหว่างแกนวาล์วและก้านยกตั้งไว้ผิด
2.ตรวจดูที่ความเร็วสูง ถ้ายังปรากฎว่าจุดระเบิดไม่สม่ำเสมอ อาจแสดงว่า
2.1 น้ำมันมาไม่พอ
2.2 ตั้งเวลาการปิดเปิดวาล์วผิด
2.3 สปริงดันวาล์ว ชำรุดหรืออ่อน
2.4 สาเหตุอื่นตามที่กล่าวไว้ในข้อ 1

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:กำลังเครื่องตก

1.ตั้งรถจักรยานยนต์บนขาตั้งใหญ่ แล้วลองหมุนล้อหลังดูด้วยมือ เมื่อรถอยุ่ในเกียร์ว่าง
1.1 ห้ามล้อหลังติด เพราะตั้งไว้ผิด
1.2 ตลับลูกปืนของล้อหลังชำรุด
1.3 โซ่ขับล้อหลังตึงเกินไป ตั้งไว้ผิด
2.วัดความดันของลมยางรถ และสูบให้ได้ความดันที่ถูกต้อง
3.ตรวจดูว่าคลัทซ์ลื่นหรือเปล่า ถ้าคลัทซ์ลื่น
3.1 ตั้งคลัทซ์ไม่ได้ที่
3.2.ผ้าคลัทช์สึกหรอ
3.3 สปริงคลัทซ์อ่อน
4.วัดจำนวนรอบสูงสุดของเพลาข้อเหวี่ยงด้วยเครื่องวัดรอบ ถ้าหากไม่ได้จำนวนรอบสูงเต็มที่ แสดงว่าอาจเป็นเพราะ
4.1 น้ำมันท่วมคาร์บูเรเตอร์
4.2 กรองอากาศมีของติดสกปรก
4.3 น้ำมันมาไม่พอ
4.4 ท่อไอเสียมีของติดสกปรก
4.5 คอยล์สำหรับจุดระเบิดหรือทองขาวเสีย
4.6 วาล์วปิดไม่สนิท
4.7ตั้งไฟผิด
4.8 สปริงวาล์วอ่อนเกินไป
4.9 หัวเทียนเสีย ทดสอบหัวเทียนด้วยเครื่องสำหรับใช้ทดสอบ
5.วัดระดับน้ำมันในอ่างข้อเหวี่ยงแล้วตั้งระดับให้ได้ตามกำหนด ถ้ามีน้ำมันมากเกินไปอาจทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นได้
6.ตรจดูว่าเรื่องร้อนเกินไปหรือไม่ และถ้าพบว่าร้อนเกินไปแสดงว่าอาจเป็นเพราะ
6.1 มีเขม่าจับในห้องเผาไหม้หนาเกินไป
6.2 ใช้น้ำมันเบนซินเกรดเลวเกินไป
6.3 คลัทซ์ลื่น
6.4 ส่วนผสมอากาศ-น้ำมันบางเกินไป ขนาดของนมหนูใหญ่ของคาร์บูเรเตอร์ไม่ถูกต้อง
6.5 กระบอกสูบและหัวสูบสกปรก
7.ตรวจดูว่าเครื่องมีเสียง ก๊อก ๆ เมื่อเร่งเครื่องเร็ว ๆ หรือวิ่งด้วยความเร็วสูงจนเกินไปหรือไม่ ถ้าพบว่ามีเสียงดังกล่าว สาเหตุอาจเป็นเหมือนข้อ 6

การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:เครื่องไม่ติด หรือติดยาก

1.ถอดอ่างลูกลอยแล้วตรวจว่ามีน้ำมันมาหรือไม่ ถ้าน้ำมันไม่พอ
1.1 ท่อน้ำมันตัน
1.2 รูระบายอากาศที่ฝาปิดถังน้ำมันตัน
1.3 ที่เปิดน้ำมันตัน
1.4 ท่อในคาร์บูเรเตอร์ตัน หรือเข็มลิ้นติด
2.ถอดหัวเทียนออก แล้วต่อหัวเทียนเข้ากับหัวครอบที่สายไฟ เปิดสวิทซ์ติดเคร่องด้วยมอร์เตอร์สำหรับสตามร์ท พร้อมกับแตะขัว(-) ของหัวเทียนลงดิน ถ้าประการไฟไม่แรงหรือไม่มีประกายไฟ
2.1 หัวเทียน (เพื่อให้แน่ ตรวจหัวเทียนด้วยเครื่องสำหรับทดสอบหัวเทียน)
2.2 หัวเทียนมีเขม่าจับหรือเปียก
2.3 ปุ่มทองขาวสกปรกหรือเป็นรูขรุขระมาก
2.4 คอนเดนเซอร์เสีย
2.5 ตั้งปุ่มทองขาวผิด
2.6 มีการลัดวงจร หรือเกิดสายขาดขึ้นในตัวคอยล์จุดระเบิดหรือสายไฟต่าง ๆ
2.7 สวิทซ์รวมเสีย
3.วัดกำลังอัดในเสื้อสูบด้วยเครื่องวัดกำลังอัด (Compression rauge) และถ้าต่ำ(หรือไม่มีกำลัง) ในกระบอกสูงข้างใดข้างหนึ่งเลย
3.1 ช่องระหว่างแกนวาล์วและก้านยกตั้วไว้ผิด
3.2 วาล์วไม่นั่งแท่นอย่างสนิท
3.3 วาล์วสึกหรอมาก
3.4 แหวนลูกสูบและเสื้อสูบหลวมมาก
3.5 ประเก็นหัวสูบรั่ว
3.6 แกนวาล์วติดอยู่ในตัวนำ
3.7 ตั้งเวลาการปิดเปิดวาล์วผิด
4.ถ้าเครื่องทำท่าว่าจะติดแต่ไม่ยอดเดิน
4.1 เปิดโช๊ค (ในเวลาอากาศเย็น) กว้างเกินไป
4.2 สกรูตั้งอากาศที่คาร์บูเรเตอร์เปิดกว้างเกินไป
4.3 แผ่นกันความร้อนคาร์บูเรเตอร์หรือประเก็นชำรุด