Honda C92 C95 Club Thailand
ร่วมด้วยช่วยกัน C92 C95 THAILAND
คำนำ
คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม 31, 1963
บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร
ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556
การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:ห้ามล้อเสีย
1.1 ผ้าเบรกสึกหรอมาก
1.2 แกนลูกเบี้ยวบังคับผ้าเบรคสึกหรอหมาก
1.3 แกนของที่เหยี่ยบห้อมล้อสึกหรอมาก
1.4 สายห้ามล้อ หรือแกนต่อห้ามล้อหลังติด
1.5 ที่ลูกเบี้ยวบังคับห้ามล้อไม่มีจาระบีอยู่เลย
2.เหยียบห้ามล้อ แล้วมีเสียงดัง อาจแสดงว่า
2.1 ผ้าเบรกสึกมาก
2.2 ผิวผ้าเบรกมีผงหรือของสงปรกติด
2.3 ดุมล้อภายในขรุขระหรือเบี้ยว
2.4 ที่จัดระยะแผงคุมห้ามล้อสึกหรอมาก
การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:การเลี้ยวรถเสีย
1.1 ขันขอบตลับลูกปืนรองแกนหมุนล้อไว้แน่นเกินไป
1.2 แกหมุนล้อคด
2.ถ้าล้อแกว่ง หรือกินทางข้างใดข้างหนึ่งขณะวิ่ง อาจแสดงว่า
2.1 ตลับลูกปือนล้อหน้าและ/หรือล้อหลังสึกหรอมาก
2.2 ขอบวงล้อหน้าและ/หรือล้อหลังคด
2.3 ซี่ล้อรถหลวม
2.4 ปลอกรองแกนเข้ากับตะเกียบล้อหลัง หรือปลอกรองแกนของก้านรองรับล้อหน้าหลวม
2.5 ตะเกียบหน้าหรือตัวถังหรือตะเกียบหลังคด
2.6 ตั้งศูนย์ล้อผิด
2.7 สปริงของโซ๊คอับด้านซ้ายและขวาแข็งไม่เท่ากัน
การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:เครื่องมืเสียงดังผิดปกติทั้ง ๆ ที่ช่องระหว่างแกนวาล์วและก้านยกตั้งไว้ถูกต้อง
1.1 เสื้อสูบและลูกสูบหลวมเกินไป
2.ถ้ามีเสียงคล้ายเสียงโซ่แม้ว่าจะตั้งโซ่ขับลูกเบี้ยวอย่างดีแล้ว อาจเป็นเพราะ
2.1 โซ่ขับลูกเบี้ยวสึกหรอมาก
2.2สปริงดันโซ่ลูกเบี้ยวหรือลูกลื่นสึกหรอมาก
3.ถ้าได้ยินเสียงเคาะก้อก ๆ จากในอ่างข้อเหวี่ยง อาจเป็นเพราะ
3.1 ที่ต่อเพลาข้อเหวี่ยง (crank shaft big ent) สึกหรอ
3.2 ลูกลื่นที่เพลาข้อเหวี่ยงสึกหรอมาก
4.ถ้ามีเสียงจากคลัทช์ อาจแสดงว่า
4.1 ช่องระหว่างแผ่นคลัทช์และตอนนอกของคลัทช์กว้างเกินไป
4.2 ช่องระหว่างตัวกลางของคลัทช์ (ctntch cantre) และแผ่นคลัทช์กว้างเกินไป
การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:เปลี่ยนเกียร์ไม่สะดวก
1.1 ร่องบนลูกทรงกระบอก (shiftdrum) เสีย
1.2 ก้ามปูสำหรับเปลี่ยนเกียร์ ติดกับลูกทรงกระบอก
1.3 ก้ามปูสำหรับเปลี่ยนเกียร์สึกหรอ
2.ถ้าวิ่ง ๆ ไปแล้วเกียร์หลุดออก อาจเป็นเพราะ
2.1 ที่เกาะบนที่เปลี่ยนเกียร์ (dogs) หลวม
2.2 ก้ามปูสำหรับเปลี่ยนเกียร์หลวมหรือคดงอ
2.3 สปริงกันลูกทรงกระบอกสำหรับเปลี่ยนเกียร์อ่อนมาก
การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:คลัทช์กระตุกหรือเข้าไม่เรียบ
1.1 สปริงคลัทช์มีความแข็งไม่เท่ากัน
1.2 แผ่นคลัทช์หรือผ้าคลัทช์บิดเบี้ยว
1.3 แผ่นคลัทช์ที่ตอนนอกของคลัทช์เลื่อนได้ไม่สะดวก
การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:กินน้ำมันเครื่องมาก หรือมีควันน้ำเงินหรือดำจากท่อไอเสีย
1.1 กระบอกสูบหรือแหวนลูกสูบหลวม
1.2 ประกอบแหวนเข้าลูกสูปกลับวงบนวงล่าง
1.3 ช่องระหว่างแกนวาล์วไอเสียและตัวนำหลวมเกินไป
2.ถ้ามีควันเกิดขึ้นหลังจากที่ผ่อนคันเร่งลงเร็ว ๆ อาจเป็นเพราะ
2.1 ช่องระหว่างแกนวาล์วไอดีและตำนำหลวมเกินไป
2.2 รูให้อากาศเข้าหรือท่อปลาสติดตัน
การหาจุดเสียและวิเคราะห์อาการเสียในเครื่องยนต์:เครื่องเดินไม่สะดวก หรือ การจุดระเบิดไม่สม่ำเสมอ
1.1 ตั้งไฟผิด
1.2 แผ่นรองกันความรอ้ยของคาร์บูเรเตอร์ชำรุด
1.3 หัวเทียนเสีย
1.4 คอนเดนเซอร์เสีย
1.5 คอลล์สำหรับจุดระเบิดเสีย
1.6 ทองขาวเสีย
1.7 ช่องระหว่างแกนวาล์วและก้านยกตั้งไว้ผิด
2.ตรวจดูที่ความเร็วสูง ถ้ายังปรากฎว่าจุดระเบิดไม่สม่ำเสมอ อาจแสดงว่า
2.1 น้ำมันมาไม่พอ
2.2 ตั้งเวลาการปิดเปิดวาล์วผิด
2.3 สปริงดันวาล์ว ชำรุดหรืออ่อน
2.4 สาเหตุอื่นตามที่กล่าวไว้ในข้อ 1