ใช้มีดสำหรับขูด (scraper) ที่เหมาะสมขุดเขม่าจากช่องสันดาปและวาล์วให้หมด ระวังอย่าให้ขูดเนื้อโลหะจนเป็นรอย ทำความสะอาดส่วนประกอบทุกชิ้นด้วยน้ำยาล้าง
ใช้วัดช่องตัวนำวาล์วด้วย (gange) แบบที่แสดงว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้ไม่ได้” (เป็นแท่งสำหรับเสียบ) ถ้าหากมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในนำกำหนดไว้ ตามรายการหน้า 150 ถ้าตัวนำวาล์วแตกหรือสึกหรอจนหลวมมาก ต้องเปลี่ยนตัวนำเสีย ตัวนำวาล์วนี้ติดแน่นกับฝาสูบโดยการปล่อยให้หดตัว หลังจากที่เผาให้ร้อนถึง 200-250 องศา และถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวนำวาล์ว ในโรงซ่อมที่ไม่มีเตาเผาที่เหมาะแล้วก็ควรเปลี่ยนฝาสูบเสียเลยดีกว่า ที่ตัวนำวาล์วไอดี (inlet valve guide) มีรูต่อช่องระบายอากาศซึ่งเจาะทะลุฝาสูบ ดังนั้นจึงควรใส่รูให้ตรงกัน ถ้าเปลี่ยนวาล์วไอดีเสียใหม่ การออกแบบเช่นนี้ เพื่อกันน้ำมันเครื่องไหลเข้าห้องเผาไหม้ ผ่านช่องระหว่างก้านวาล์วและตัวนำวาล์ว
วาล์ว
วาล์วบิดเบี้ยวหรือหลวมจนใช้ไม่ได้อีกต่อไปต้องเปลี่ยนเสียใหม่ ตรวจโดยวัดเส้นศูนย์กลางกร้านวาล์ว ความหนาของหัววาล์วเพื่อดูว่า ได้ตามกำหนดหรือไม่ เปลี่ยนวาล์วที่มีกร้านหรือหัวสึกหรอจนใช้ไม่ได้แล้ว ถ้ามีเครื่องแต่งผิววาล์ว (Valve refacer) ก็ให้แต่ผิววาล์วจนรอยสึกหรอที่ผิววาล์วหมดไป (รูป40) หนังจากที่แต่งผิวลาล์วแล้วก็บดวาล์วกับแท่นรับวาล์ว โดยแต่งแท่นรับวาล์วเสียก่อน ถ้าจำเป็น ใช้ยาบดวาล์ว (Lapaing compound) อย่างดีเพื่อบดวาล์ว อย่าบดวาล์วให้เกินกว่าจำเป็น หยุดการบดวาล์วเมื่อเห็นว่า ผิววาล์วรับกับแท่นรับเรียบร้อยดีโดยรอบ เมื่อเช็ดยาบทวาล์วออกแล้ว
4.สปริงดันวาล์ว (Valve Spring)
วัดความยาวปกติด้วยได้บรรทัด แล้ววัดความตั้งฉากของสปริงดันวาล์ว ถ้าค่าที่วันได้มากกว่าค่าสปริงเกินกว่าค่าผิดไปที่จะยอมให้ได้ (Allowable Tolerance) ซึ่งกำหนดไว้ในรายการ ก็ให้เปลี่ยนใหม่ ทดสอบความตึงของสปริงดันวาล์วด้วยเกจ์วัดความตึงของสปริง (Valve Spring Tension Gauge) (รูป41) เปลี่ยนสปริงที่ได้ค่าผิดจากกำกหนดไว้ในรายการ
5.ซีลกันน้ำมันรั่ว
เครื่องที่ใช้หม้อจ่ายไฟ (ถึงเบอร์ซี92 อี 737064) และซีบี 92 และซีเอ95 พร้อมเฟืองสำหรับขับเครื่องวัดความเร็วด้วย ตรวจดูซิลกันน้ำมันรั่วที่ฝาครอบซีกขวา ว่ามีน้ำมันรั่วหรือไม่ ถ้าทีก็ให้เปลี่ยนซีลกันน้ำมันรั่วตัวนั้นเสีย
6.กระเดื่องกดลิ้นและแกนยึด
ตรวจกระเดื่องกดลิ้น ถ้าปลายปุ่มที่สัมผัสกับลูกเบี้ยวนั้นสึกไปเกิน 0.0002” (0.05มม.) ก็ให้เปลี่ยนเสียใหม่ ตรวจเส้นผ่าศูนย์กลางขอบนอกของแกนยึด และช่วงว่าง (Clearance) ของกระเดื่อง เปลี่ยนชินที่เกินอัตรากำหนดไว้
7.เพลาลูกเบี้ยว
รูปตัดของเพลาลูกเบี้ยนั้นแสดงไว้ในรูป 42 เพลาลูกเบี้ยวสำหรับแบบต่าง ๆ นั้นมีดังนี้
8.เฟืองเพลาลูกเบี้ยว และโซ่ขับเพลาลูกเบี่ยว
ตรวจดูขอบตรงกลางของเฟืองเพลาลูกเบี้ยว ถ้ามีรอยร้าวหรือสึกหรอมาก ก็ให้เปลี่ยน ถ้ามีเครื่องมือพิเศษเป็นไปโครมิเตอร์ที่ใช้สำหรับวัดระยะเส้นผ่าศูนย์กลางของเฟือง โดยวัดจากที่ฐานของฟันเฟือง ก็ให้วัดแล้วเทียบกับค่าที่กำหนดไว้ ให้เปลี่ยนแผ่นเฟืองที่มีรอยแตกร้าวหรือสึกหรอมาก วัดความยาวทั้งหมดของโซ่ โดยใช้น้ำหนักถ่วง 3 ก.ก. ถ่วงที่ปลายหนึ่ง (รูป43) ให้เปลี่ยนโซ่นั้น ถ้ายาวเกินกว่าที่กำหนดไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น