คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

หัวเทียน

หัวเทียน
หัวเทียนที่ใช้ในรถจักรยานยนต์ ฮอนด้า
150 และฮอนด้า 125 นั้นมีดังนี้


สำหรับการใช้ตามปกติ หัวเทียนควรจะแห้งสนิท และมีผิวสีเทาบาง ๆ หรือค่อนข้างไปทางน้ำตาล และฉนวนกลางควรมีรอยเกรียมเป็นสีเหลืองทอง



1.การระวังรักษาหัวเทียน
ใช้เครื่องทำความสะอาดหัวเทียนหรือแปลงลวดทำความสะอาดหัวเทียน ถ้าเกิดมีเขม่าจับขึ้นหรือเปียก หลังจากที่ทำความสะอาดแล้วตั้งระยะเขี้ยวให้ได้
0.6-0.7 มม. เปลี่ยนหัวเทียนที่เสียหรือมีเขี้ยวสึกไปมาก ๆ ถ้ามีเครื่องทดสอบหัวเทียนก็ให้ทดสอบหัวเทียนภายใต้ความดัน 7-10 ปอนด์ ของความดันอากาศ เปลี่ยนหัวเทียนตัวที่ไม่ทำงานเมื่อทดสอบการใส่หัวเทียน ขันเข้าด้วยมือก่อน แล้วจึงขันแน่นด้วยนิ้ว จากนั้นก็ให้ขันเข้าไปอีก ¼ รอบ โดยใช้กุญแจปลอกสำหรับขันหัวเทียน อย่าลืมแหวนหัวเทียนเข้าไปด้วย
2.การหาที่เสียในหัวเทียน


ปุ่มสตาร์ทนั้นอยู่บนแฮนเดิ้นทางขวา เมื่อกดปุ่มนี้ลงก็จะมีกระแสร์ไฟ 100 แอมแปร์ไหลเข้าสู่มอเตอร์สำหรับสตาร์ท ทำให้มอเตรอ์หมุน กำลังนี้ก็ส่งต่อไปยังเครื่องด้วยโซ่ ทำให้เครื่องหมุนและติดได้ หลังจากที่เครื่องติดแล้ว คลัทซ์อัตโนมัติที่เรียกว่า over-running clutch ก็ตัดการติดต่อระหว่างมอเรอร์และเครื่องยนต์เสีย
การเดินสายของวงจรเป็นตามแบบข้างล่างนี้


ก.มอเรอร์สำหรับสตาร์ท
ขนาดกำลังของมอเตอร์ขณะที่กำลังใช้ติดเครื่องมีดังนี้
2.3 โวลต์ 200 แอมแปร์ แรงหมุน 1.8 กก.ม. 0.3 แรงม้า ระหว่างมอเตอร์และข้อเหวี่ยงนั้นมีอัตราทดอยู่ 2 ตอน
ขั้นแรก  จากเพลา-เฟืองโซ่
(planetary gear) 7.33:1
ขั้นที่สอง เฟืองโซ่-เฟืองข้อเหวี่ยง                              2.77:1
รวม                                                                       20.3:1
เมื่ออากาศเย็น ข้อเหวี่ยงจะหมุนด้วยความเร็ว 250-300 รอบต่อนาที
1.การถอดและประกอบ
ดูรูปแยกส่วนประกอบ (รูป
3-15) ถอดฝาจากสองข้างของมอเตอร์สำหรับสตาร์ท ขันสลักเกลียวขนาด 6 มม. ตัวยาว 1 ตัวและตัวสั้น 3 ตัว ซึ่งติดอยู่บนมอเตอร์ แล้วถอดโซ่จากมอเตอร์ ถอดแหวนที่ใช้ยึดเฟืองโซ่ไว้ แล้วจึงถอดเฟืองโซ่ซึ่งเข้ากับเพลาของมอเตอร์ที่มีรอยหยัก ออกได้ คลายสลักเกลียวที่บนห้องเกียร์ แล้วแยกตอนหน้าของมอเตอร์ออก มีเฟืองหมุน (planetary gears) 3 ตัวติดอยู่กับแผ่นรับแผ่นหนั่งด้วยแกนถอดเฟืองรูปวงแหวน(ring gear) จากข้างตัวมอเตอร์ ถอดฝาครอบคอมมิวเตเตอร์ (commutator) และสกรูจากตอนหลังของมอเตอร์ ต่อไปดึงเอาลูกลื่นคอมมิเตเรอร์และขดลวดอารัมมาเจอร์ออกจากภายใจ คลายสกรุยึดขั้วแปรงถ่าน (Brush) แล้วถอดแปรงนั้นออกโยการดึงที่สปริง กลับลำดับข้างบนนั้นเสีย เพื่อประกอบ แต่ถ้าจะให้ดีให้ใส่เฟืองโซ่เข้ากับเพลาเสียก่อนแล้วจึงใส่เฟืองหมุน (planetary gears)


2.การตรวจ และระวังรักษา
เฟืองนั้นโดยปกติแล้วไม่เสียง่าย ถ้าหากเกิดมีรอยแตกกะเทาะจากฟันเฟืองให้ถอดสลักสำหรับยึดเฟืองนั้นออกแล้วก็เปลี่ยนเฟืองตัวที่แตกหรือกะเทาะนั้นเสีย เมื่อตัวทองแดงของ
Commutator สึกหรอไป ประสิทธิภาพของมอเตอร์ก็จะลดลง ควรให้ช่างผู้ชำนาญทำการเซาะร่องไมก้า (mica) ซึ่งใช้เป็นฉนวนเสียใหม่ แปรงที่สึกหรอ และสปริงอาจเปลี่ยนได้ง่ายโดยการถอดฝาครอบลูกลื่นออกเท่านั้น ถ้ามอเตอร์สำหรับสตาร์ทเกิดไปจมน้ำอยู่ ถอดมอเตอร์ออกเป็นชิ้นและทำให้ชิ้นส่วนภายในแห้งเสียให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข.สวิทซืแม่เหล็กสำหรับติดเครื่อง
เนื่องจากกระแสร์ไฟที่ใช้ในมอเตอร์สำหรับติดเครื่องนี้สูงถึง
100 แอมแปร์ จึงต้องใช้สายไฟที่มีขนาดใหญ่และมีที่ต่อสายเป็นพิเศษ สวิทซ์แม่เหล็กนั้นมีไว้ก็ด้วยเหตุผลข้อนี้เอง(รูป3-14) เมื่อใช้สวิทซ์แม่เหล็กนี้เป็นเวลานาน ๆ แล้ว แผ่นที่ใช้ต่อสัมผัสก็อาจไหม่ได้เนื่องมาจากกระแสร์ไฟสูงมาก ทำให้ความต้านทานมีเพิ่มมากขึ้นและในที่สุดกระแสร์ไฟก็จะหยุดไหล ในกรณีเช่นนี้เมื่อกดปุ่มสตาร์ทจะมีเสียงดังคลิ้กเกิดขึ้น แต่มอเตอร์ไม่หมุน ให้ถอดสวิทซ์เสีย เอาสกรู 2 ตัวออกแล้วขัดแผ่นที่ใช้ต่อสัมผัส ด้วยตะไบอย่างละเอียดหรือกระดาษทราย
ค.คลัทซ์สำหรับแยกมอเตอร์ออก (over-runnig clutch)
คลัทซ์สำหรับแยกมอเตอร์ออกนี้ ออกแบบมาเพื่อให้ส่งแรงหมุนจากมอเตอร์ไปยังเพลาข้อเหวี่ยงได้ แต่เมื่อเครื่องติดแล้ว แรงหมุนจากเครื่องยนต์นั้นไม่ส่งกลับมายังมอเตอร์ ส่วนประกอบนั้นมีแสดงไว้ตามรูป 3-16 โดยลูกลื่นทั้ง 3 ตัวถูกดันออกมาด้วยสปริงตามทิศทางของลูกศรเล็ก ๆ ที่เขียนไว้และเฟืองกับปลอกลิ่ม (onter wadge) นั้นหมุนไปด้วยกัน


และทำให้หมุนไปด้วยกันกับเพลาข้อเหวี่ยงด้วย เนื่องจากว่าปลอกลิ่มนั้นต่อกับตัวหมุนของไดนาโมด้วยสกรู 3 ตัว เมื่อเครื่องติดแล้ว และเพลาข้อเหวี่ยงหมุนเร็วกว่ามอเตอร์สำหรับสตาร์ท ลิ่มของคลัทซ์ก็หมุนไปด้วย ทำให้ลูกลื่นทั้ง 3 ตัวถูกแรงเหวี่ยงดันกลับกับสปริง ทำให้คลัทซ์แยกตัวออกจากแกนและแรงหมุนจากเครื่องก็ส่งต่อมายังเฟืองของมอเตอร์สำหรับสตาร์ทไม่ได้
1.การถอดและการตรวจ
ถอดฝาครอบข้างขวาและฐานของตัว
stator ของไดนาโม ถอดเฟืองขับโซ่ของมอเตอร์สำหรับสตาร์ท แล้วถอดมอเตอร์ออก ตัวหมุนของไดนาโมและเฟืองโซ่นั้นดึงออกจากเพลาข้อเหวี่ยงพร้อมกันได้
1.ตรวจอ่างข้อเหวี่ยงและผนึกกันน้ำมันรั่วของเฟืองสำหรับสตาร์ท
2.เปลี่ยนปลอกรองแกนเฟืองสำหรับสตาร์ท ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางภายใจแสดงว่าหลวมเกินไป
3.ตรวจดูที่ซึ่งลูกลื่นของเฟืงสตาร์ทเข้ามาดันติดอยู่เพื่อดูรอยกดและรอยสึกหรอบนลิ่มตัวนอกของคลัทช์ (clutch onter wedge) เปลี่ยนส่วนที่สึกหรอเสีย
4.ตรวจสปริงของลูกลื่น
2.การประกอบ
ใส่สปริง
3 ตัวเข้าที่ สวมฝาครอบสปริงเข้ากับคลัทซ์เข้ากับตัวหมุนของไดนาโมด้วยสกรู 3 ตัวและขันให้แน่น ใส่สลักลิ่มเข้ากับช่องบนเพลาข้อเหวี่ยงโดยให้ตรงกับร่องบนตัวหมุนของไดนาโม แล้วหมุนแกนไปตามแนวหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง ดันตัวหมุนให้ติดอยู่ตัวเฟืองโซ่ พร้อมกับยึดโซ่ไว้ให้อยู่กับที่ เป็นอันว่าใส่คลัทซ์เข้าที่ได้แล้ว ประกอบเครื่องให้เสร็จด้วยการใส่เครื่องเลื่อนระยะเวลาจุดระเบิด และฐานของไดนาโม ทาลูกลื่นด้วยจาระบีที่ไม่เหนี่ยว (ช่นพวกจาระบี silicon DC44) อย่างบาง ๆ เพื่อประกอบกันเข้าเครื่อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น