คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การถอดเพลาข้อเหวี่ยง

1.เริ่มตั้งแต่ตอนที่ถอดเสื้อสูบและลูกสูบออกแล้ว ตามที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน ๆ
2.ถอดฝาครอบอ่างข้อเหวี่ยงซ้าย, หม้อกรองน้ำมันและส่วนประกอบคลัทช์ ถอดปั้มป์น้ำมันเครื่องพร้อมกับตอนนอกของคลัทช์ออก


3.ขันน๊อต ขนาด 6 ม.ม. 3 ตัว และขนาด 8 ม.ม. 2 ตัว ที่ยึดท่อนบนของอ่างข้อเหวี่ยงออก
4.วางอ่างข้อเหวี่ยงลง แล้วถอดน๊อตสลักเกลียว 2 ปลาย ขนาด 8 ม.ม. 6 ตัว  น๊อตสลักเกลียวสองปลาย 6 ม.ม. 2 ตัว และสลักเกลียว 6 ม.ม. 6 ตัว
5 ถอดส่วนใต้อ่างข้อเหวี่ยงออก โดยใช้ค้อนไม้เคาะเบา ๆ (รูป66)
6.ยกเอาส่วนประกอบเพลาข้อเหวี่ยงออก
7.ถอดเฟืองตั้งเวลาด้วยเครื่องดึง (extractor) (รูป 67)
8.ใช้สิ่งเล็ก ๆ กับค้อนตอบแผ่นล๊อคน๊อตยึดเฟือง ขันให้ราบลง, ถอดน๊อต, แผ่นล๊อกแหวนและเฟืองออก
9.ลูกปืนตัวใหญ่ที่อยู่สองข้างนั้น อาจแยกออกได้โยใช้เครื่องดึง



การตรวจและซ่อมเพลาข้อเหวี่ยง
1.ทำความสะอาชิ้นส่วนทุกชิ้นด้วยน้ำยาล้าง แล้วเช็ดให้แห้ง
2.ลูกลื่นใหญ่
2.1 จับขอบในของลูกลื่นตัวใหญ่ไว้ด้วยมือ แล้วหมุนขอบนอกด้วยมืออีกข้างหนึ่งเพื่อตรวจดูความเรียบของการหมุน และเสียง ถ้ามีเสียงดังมากเกิดไปให้เปลี่ยนเสีย
2.2 ติดลูกลื่นเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยง โดยมีแท่นรูปตัว V รองรับเพลาข้อเหวี่ยงที่น้ำหนักถ่วง ตั้งที่วัดแบบมีห้าปัทม์ (dial gange) ให้อ่านศูนย์ผิวของขอบนอกของลูกลื่นแล้วดันขอบนอกขึ้นลงตามแนวรัศมี เพื่อวัดช่องระยะการหลวม ความหลวม สูงสุดที่จะยอมให้ใช้ได้นั้นคือ 0.0002 นิ้ว หรือ 0.005 ม.ม. รูป 68
2.3 ใช้สายตรวจดูที่ผิวของเพลาข้อเหวี่ยงตอนที่มีลูกลื่นรองรับอยู่ เปลี่ยนเพลาข้อเหวี่ยงเสีย ถ้ามีรอยขุดหรือบิดเบี่ยวขึ้น



3.ก้านสูบ แกนข้อเหวี่ยง และลูกลื่นของก้านสูบทางปลายใหญ่
3.1 วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของรูปที่ปลายบนของก้านสูบ เปลี่ยนก้านสูบเสียใหม่เมื่อประกอบเพลาข้อเหวี่ยง ถ้ามีขนาดเกินกว่าที่กำหนดไว้
3.2 วางส่วนที่มีน้ำหนักถ่วงของเพลาข้อเหวี่ยงลงบนแท่นรูป V แล้ววัดดูระยะหลวมที่สุดของปลายด้านใหญ่ โยลงดึงขึ้นและกดลงตรง ๆ ควรใช้ที่วัดแบบมีหน้าปัดอ่าน การวัดควรทำตามแนวแกนของก้านสูบ และตั้งฉากกับแนวแกน ถ้าหลวมเกินกว่า 0.0002 นิ้ว หรือ 0.05 ม.ม. (รูป69) จะต้องทำเพลาข้อเหวี่ยงใหม่






3.3 วัดความหลวมของปลายใหญ่ของก้านสูบ ซึ่งอยู่ระหว่างเพลาข้อเหวี่ยง และน้ำหนักถ่วง ความหลวมสูงสุดที่จะยอมให้ใช้ได้ก็คือ 0.04 นิ้วหรือ 1 ม.ม. ดังนั้นจึงควรซ่อมแซมเพลาข้อเหวี่ยง ถ้าหลวมเกินกว่าที่กำหนดไว้ในรายการนี้
3.4 ยึดปลายใหญ่ไว้ให้อยู่ที่ศูนย์กลางของวงกลม แล้วหมุนปลายเล็กมาทางแกนเพลาข้อเหวี่ยงกำหนดสูงสุดที่จะยอมให้ใช้ต่อไปได้คือ 0.2นิ้ว หรือ 3 ม.ม. ถ้าเกิดกว่านี้ไปต้องซ่อมแซมเพลาข้อเหวี่ยงเสีย (รูป70)
3.5 การบิดเบี้ยวของก้านสูบทั้งหมด อันเนื่องมาแต่การงอโค้ง บิด หรือผิวเรียบไม่เท่ากันนั้นอาจวันได้จากค่าที่แตกต่างระหว่างปลายของแท่งโลหะขนาด 200 ม.ม. ซึ่งสอดเข้าในรูปทางปลายเล็กของก้านสูบ เมื่อหมุ่นก้านสูบตามวิธีในข้อ 3.4 ถ้าค่าต่างกันที่ได้นั้นเกิน 0.08นิ้ว หรือ 2 ม.ม. ให้ถอดเพลาข้อเหวี่ยงออกตรวจ (รูป 71)
3.6 หลังจากถอดส่วนประกอบของเพลาข้อเหวี่ยงออกแล้วหาที่เสียโดยวันชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมทั้งรูปลายใหญ่ของก้านสูบ ลูกลื่นรับก้านสูบ และแกนก้านสูบ ค่าจำกัดสูงสุดที่ยอมให้ใช้ต่อไปได้นั้น อยู่ในหน้า 158 เปลี่ยนชิ้นส่วนที่สึกหรอมาก รวมทั้งส่วนหลวมจนเลื่นไปมาได้
4.การวัดความสึกหรอของเพลาข้อเหวี่ยง
วิธีการวัดความสึกหรอของเพลาข้อเหวี่ยง ให้วางลูกลื่นใหญ่ให้รองรับไว้ด้วยแท่นรองรับรูปตัว
V ติดที่วัดแบบที่มีหน้าปัทม์นี้ไว้ที่ปลายของเพลา ซึ่งไม่มีรอยเฟืองหรือเรียวลง แล้วหมุนเพลาข้อเหวี่ยงไปเบา ๆ เพื่ออ่านค่าสึกหรอที่บนหน้าปัด อ่านค่าสูงสุดที่จะยอให้ได้นั้นคือ 0.0012 นิ้ว หรือ 0.03 ม.ม. สำหรับเครื่องที่ประกอบใหม่ ๆ (รูป72)




4.ลูกปืนตัวกลาง
ลูกลื่นตัวกลางของเพลาข้อเหวี่ยง ของเครื่องแบบซีบี
92 และซีเอ 95 อาจวัดหาค่าได้ตามวิธีปฏิบัติในวรรค 3.2 ถอดเพลาข้อเหวี่ยง ถ้าหลวมมีขนาดเกิดกว่า 0.002 นิ้ว หรือ 0.05 ม.ม. วัดและตรวจหาที่ผิด หลังจากที่ถอดออกมาแล้ว
5.การถอดเพลาข้อเหวี่ยง
ใช้เครื่องจับแบบพิเศษที่ให้ไว้ และเครื่องกดมีขนาด
10-15 ตัน ใช้ดันแกนก้านสูบออกจากเพลาข้อเหวี่ยงและน้ำหนักถ่วงได้วางเพลาข้อเหวี่ยงลงบนแท่นที่กด ซึ่งทำงานด้วยระบบไฮดรอลิคส์และรองรับน้ำหนักถ่วงแผ่นหนึ่งอย่างมั่นคง ดันแกนก้านสูบให้ออกด้วยท่อนเหล็กที่พอเหมาะ ซึ่งจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าแกนก้านสูบ เริ่มการใช้กำลังอัดออกจากระบบไฮดรอลิคส์
6.การประกอบแกนก้านสูบ                
ใช้เครื่องอัดแรงด้วยระบบไฮดรอลิกส์กับเครื่องมือสำหรับจับ
(jig) ขั้นแรก กดแกนก้านสูบเข้กับเพลาข้อเหวี่ยงขวา แล้วจึงติดก้านสูบ พร้อมด้วยลูกปืนของก้านข้อเหวี่ยงโดยยึดน้ำหนักถ่วงไว้ให้มั่นคง ควรระวังให้รูปน้ำมันในเพลาข้อเหวี่ยงตรงกับรูบนแกนก้านสูบ
3.การประกอบเพลาข้อเหวี่ยง
1.วางอ่างข้อเหวี่ยงลงบนแท่นโดยให้ตั้งขึ้นตามปกติ
2.ตั้งเพลาข้อเหวี่ยงที่ประกอบเสร็จแล้ว และมีลูกปืนตัวใหญ่ติดอยู่ด้วย..โดยมีก้านสูบห้อยลงข้างล่าง ในลักษณะเช่นนี้ ร่องบนตลับลูกปืน และช่องรับลูกปืนในอ่างข้อเหวี่ยง ควรจะเข้ากันได้พอดี โดยมีแหวนบังคับสอดอยู่ตรงกลาง ใส่สลักเดือยเข้าระหว่างรองรับตัวกลางในอ่างข้อเหวี่ยงกับลูกปืนตัวกลางของเครื่องแบบซีบี 92 และซีเอ 95



เหวี่ยงตอนล่อง ลงบนอ่างข้อเหวี่ยงตอนบน หลังจากที่ได้ตรวจดูแน่แล้วว่าเกียและที่เปลี่ยนเกียร์นั้นประกอบเรียบร้อยหมดแล้ว  ก่อนปิดใต้อ่างข้อเหวี่ยง ดูให้แน่ว่าแผ่นกั้นน้ำมันติดเข้าเรียบร้อยแล้ว (รูป 74) ขันน๊อตและสลักเกลี่ยวทุกตัวให้แน่น
5.ใส่ฝาครอบล่างข้อเหวี่ยงขวา, ฝาครอบซ้าย, เสื้อสูบและฝาสูบรวม ทั้งเครื่องกลไกทุกชิ้นภายในฝาสูบ
6.ประเก็นและแผ่นรองทุกแผ่นที่จะต้องเปลี่ยนใหม่ นอกจากประเก็นน้ำนั้นแสดงไว้ตามรูป 73

1 ความคิดเห็น: