คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตรวจและการซ่อม

1.หัวสูบ
ใช้มีดสำหรับขูด
(scraper) ที่เหมาะสมขุดเขม่าจากช่องสันดาปและวาล์วให้หมด ระวังอย่าให้ขูดเนื้อโลหะจนเป็นรอย ทำความสะอาดส่วนประกอบทุกชิ้นด้วยน้ำยาล้าง
เปลี่ยนฝาสูบใหม่ ถ้าร้าวหรือบิดเบี้ยวไปเกิน 0.004” ถ้าบิดเบี้ยวไปน้อยกว่านี้อาจขัดให้เรียบได้ โดยใช้ยาสำหรับขัด ทากับแผ่นเหล็กเรียบ แล้วขัดฝาสูบกับแผ่นเหล็กนั้นควรตรวจผิวของที่ต่อท่อไอเสีย เสียด้วย ถ้าจำเป็นก็ให้ขัดเสีย
ตรวจดูผิวหน้าเบาะวาล์วว่า มีรอยไหม้, รอยขรุขระ, หรือรอยสึกหรอหรือไม่ ก่อนที่จะขัดผิดเสียใหม่ ถ้าหากต้องเปลี่ยนตัวนำวาล์วเสียใหม่ จะต้องทำเสียก่อนที่จะขัดผิวใหม่ เครื่องมือสำหรับขัดผิดนั้น เป็นเฟืองสำหรับตัดโลหะ ทำมุม 30, 90, และ 120องศา ในขั้นแรกใช้ตัวตัดที่มีมุม 90 องศา ก่อน เพื่อแก้มุ่มของผิววาล์วทั้งไอดีและไอเสีย ให้ใช้ตัวตัดนั้นตัดจนรอยเสียต่าง ๆ หมดไป วัดผิวของแท่นรับที่ตัดขึ้น ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 0.04 – 0.06 (1.0-1.5 ม.ม.) ถ้าหากกว้างกว่านี้ วาล์วจะนั่งแท่นลึกไปให้ตัดส่วนบนเสียด้วยตัวตัดทำมุม 120 องศา วัดอีก ถ้ายังมากไปให้ใช้ตัวตัดที่ทำมุม 30 องศา เป็นการแก้ความกว้างของผิวแท่นรับวาล์ว



อย่าตัดผิววาล์วให้มากเกินกว่าความจำเป็นที่กำหนดไว้ แท่นรับวาล์วนั้นติดเข้ากับฝาสูบแน่น โดยการปล่อยให้หดตัว (shrink fitted) ดังนั้นจึงไม่ควรพยายามที่จะเปลี่ยนแท่นรับวาล์ว
วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของลูกลื่นรับเพลาลูกเบี้ยว เปลี่ยนตัวที่สึกหรอหรือบิดเบี้ยวจนไม่กลม
ตัดนำวาล์ว
ใช้วัดช่องตัวนำวาล์วด้วย
(gange) แบบที่แสดงว่า “ใช้ได้” หรือ “ใช้ไม่ได้” (เป็นแท่งสำหรับเสียบ) ถ้าหากมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในนำกำหนดไว้ ตามรายการหน้า 150 ถ้าตัวนำวาล์วแตกหรือสึกหรอจนหลวมมาก ต้องเปลี่ยนตัวนำเสีย ตัวนำวาล์วนี้ติดแน่นกับฝาสูบโดยการปล่อยให้หดตัว หลังจากที่เผาให้ร้อนถึง 200-250 องศา และถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวนำวาล์ว ในโรงซ่อมที่ไม่มีเตาเผาที่เหมาะแล้วก็ควรเปลี่ยนฝาสูบเสียเลยดีกว่า ที่ตัวนำวาล์วไอดี (inlet valve guide) มีรูต่อช่องระบายอากาศซึ่งเจาะทะลุฝาสูบ ดังนั้นจึงควรใส่รูให้ตรงกัน ถ้าเปลี่ยนวาล์วไอดีเสียใหม่ การออกแบบเช่นนี้ เพื่อกันน้ำมันเครื่องไหลเข้าห้องเผาไหม้ ผ่านช่องระหว่างก้านวาล์วและตัวนำวาล์ว


 วาล์ว
วาล์วบิดเบี้ยวหรือหลวมจนใช้ไม่ได้อีกต่อไปต้องเปลี่ยนเสียใหม่ ตรวจโดยวัดเส้นศูนย์กลางกร้านวาล์ว ความหนาของหัววาล์วเพื่อดูว่า ได้ตามกำหนดหรือไม่ เปลี่ยนวาล์วที่มีกร้านหรือหัวสึกหรอจนใช้ไม่ได้แล้ว ถ้ามีเครื่องแต่งผิววาล์ว (Valve refacer) ก็ให้แต่ผิววาล์วจนรอยสึกหรอที่ผิววาล์วหมดไป (รูป40) หนังจากที่แต่งผิวลาล์วแล้วก็บดวาล์วกับแท่นรับวาล์ว โดยแต่งแท่นรับวาล์วเสียก่อน ถ้าจำเป็น ใช้ยาบดวาล์ว (Lapaing compound) อย่างดีเพื่อบดวาล์ว อย่าบดวาล์วให้เกินกว่าจำเป็น หยุดการบดวาล์วเมื่อเห็นว่า ผิววาล์วรับกับแท่นรับเรียบร้อยดีโดยรอบ เมื่อเช็ดยาบทวาล์วออกแล้ว



4.สปริงดันวาล์ว (Valve Spring)
วัดความยาวปกติด้วยได้บรรทัด แล้ววัดความตั้งฉากของสปริงดันวาล์ว ถ้าค่าที่วันได้มากกว่าค่าสปริงเกินกว่าค่าผิดไปที่จะยอมให้ได้
(Allowable Tolerance) ซึ่งกำหนดไว้ในรายการ ก็ให้เปลี่ยนใหม่ ทดสอบความตึงของสปริงดันวาล์วด้วยเกจ์วัดความตึงของสปริง (Valve Spring Tension Gauge) (รูป41) เปลี่ยนสปริงที่ได้ค่าผิดจากกำกหนดไว้ในรายการ
5.ซีลกันน้ำมันรั่ว
เครื่องที่ใช้หม้อจ่ายไฟ (ถึงเบอร์ซี
92 อี 737064) และซีบี 92 และซีเอ95 พร้อมเฟืองสำหรับขับเครื่องวัดความเร็วด้วย ตรวจดูซิลกันน้ำมันรั่วที่ฝาครอบซีกขวา ว่ามีน้ำมันรั่วหรือไม่ ถ้าทีก็ให้เปลี่ยนซีลกันน้ำมันรั่วตัวนั้นเสีย
6.กระเดื่องกดลิ้นและแกนยึด
ตรวจกระเดื่องกดลิ้น ถ้าปลายปุ่มที่สัมผัสกับลูกเบี้ยวนั้นสึกไปเกิน
0.0002” (0.05มม.) ก็ให้เปลี่ยนเสียใหม่ ตรวจเส้นผ่าศูนย์กลางขอบนอกของแกนยึด และช่วงว่าง (Clearance) ของกระเดื่อง เปลี่ยนชินที่เกินอัตรากำหนดไว้
7.เพลาลูกเบี้ยว
รูปตัดของเพลาลูกเบี้ยนั้นแสดงไว้ในรูป
42 เพลาลูกเบี้ยวสำหรับแบบต่าง ๆ นั้นมีดังนี้





วัดระยะสูงสุดของลูกเบี้ยวและเส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกของแกนที่รองรับ ให้เปลี่ยนเพลาลูกเบี้ยวที่หลวมเกินกว่ากำหนดไว้ในรายการ
8.เฟืองเพลาลูกเบี้ยว และโซ่ขับเพลาลูกเบี่ยว
ตรวจดูขอบตรงกลางของเฟืองเพลาลูกเบี้ยว ถ้ามีรอยร้าวหรือสึกหรอมาก ก็ให้เปลี่ยน ถ้ามีเครื่องมือพิเศษเป็นไปโครมิเตอร์ที่ใช้สำหรับวัดระยะเส้นผ่าศูนย์กลางของเฟือง โดยวัดจากที่ฐานของฟันเฟือง ก็ให้วัดแล้วเทียบกับค่าที่กำหนดไว้ ให้เปลี่ยนแผ่นเฟืองที่มีรอยแตกร้าวหรือสึกหรอมาก วัดความยาวทั้งหมดของโซ่ โดยใช้น้ำหนักถ่วง
3 ก.ก. ถ่วงที่ปลายหนึ่ง (รูป43) ให้เปลี่ยนโซ่นั้น ถ้ายาวเกินกว่าที่กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น