คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การถอดเครื่องออกเป็นชิ้น ๆ

วิธีการถอดเครื่องออกเป็นชิ้น ๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ใช้สำหรับการยกเครื่องใหม่ทั้งหมดหลังจากที่ถอดเครื่องออกมาจากตัวถังแล้ว (รูป21) วิธีการที่ใช้กับการซ่อมคลัทซ์, การซ่อมมอเตอร์สำหรับสตาร์ทและส่วนประกอบ, ตัวคุมความเร็วเครื่อง (Governor) หรือการซ่อมไดนาโมไฟสลับนั้นก็ใช้ได้สำหรับวิธีที่ไม่ถอดเครื่องยนต์ออกจากตัวถัง คงคอดเฉพาะส่วนของเครื่องที่ต้องซ่อม เพื่อให้สะดวกแก่การซ่อมเท่านั้น เมื่อทำการถอดเครื่องเป็นชิ้น ๆ นั้น ให้ถ่ายน้ำมันเครื่องออกให้หมดเสียก่อน






หัวสูบและโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว
หัวสูบทำด้วยอลูมิเนียมผสม และหล่อโดยมีตัวนำก้านวาล์ว (Valve Gnides) และแท่นรับวาล์ว (Valve Seats) หล่อเข้าติดกับหัวสูบด้วยวิธีการใส่นั้น ต้องทำให้หัวสูบขยายตัว โดยอาศัยการเผาให้ร้อนถึง 200-250 องศาเซลเซียส ในเตา เพื่อจะได้สอดใส่ปลอกรอง (Inserts) เข้าไปได้ที่อุณหภูมิอากาศในร่มตามปกติ วาล์ว. ก้านยก (Rocker Arms) และเพลาลูกเบี้ยวนั้นติดอยู่ที่หัวสูบ และขับเคลื่อนโดยใช้โซ่ขับเพลาลูกเบี้ยวต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง ห้องเผาไหม้เป็นรูปทรงกลม เพื่อเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานลูกเบี้ยว (Cams) ของเครื่องแบบ ซีบี92 และ ซีเอ95 นั้นแตกต่างกว่าแบบธรรมดา
สำหรับเครื่องยนต์ที่มีเบอร์ต่อจากเบอร์ซีบี
92 อี-010511 และซีเอ 95 อี-010139 มีที่ต่อสายวัดความเร็วเครื่องไว้ที่ฝาครอบข้างหัวสูบด้านขวา และที่ปลายเพลาลูกเบี้ยวตัดเฟืองสำหรับขับสายวัดความเร็วไว้ด้วย ถ้าต้องการที่จะติดที่ต่อสายวัดความเร็วเครื่อง จะต้องเปลี่ยนหัวสูบใหม่ เพราะที่ต่อสายนั้นติดเข้ากับหัวสูบอื่นไม่ได้ (รูป24)
การถอดหัวสูบ
1.ถอดฝาครอบปุ่มทางขาว (Coutact Points) และถอดสายไฟสี่เขียวจากรอยต่อ ที่บนแผ่นติด (รูป22) แล้วจึงถอดฝาครองอ่างข้อเหวี่ยงข้างซ้าย ซึ่งมีแผ่นติดทองขาว (Contact Plate) ติดอยู่จะถอดออกได้โยการขันสกรูหัวกากะบาด ซึ่งยึดกับฝาครอบไว้
2.ถอดสลักเกลียวขนาด 8 มม. ซึ่งยืดที่เลื่อนเวลาจุดระเบิด (Spark-advancer) วิธีทำ ตอกปลายกุญแจ ขันด้วยค้อนเพื่อให้เกิดแรงกระแทกไปตามแนวทวนนาฬิกา มิฉะนั้นจะคลายสะบักเกลียวตัวนั้นไม่ออก ทั้งนี้เพราะสลักเกลี่ยวมีทิศทางหมุนออกไปทางเดียวกับแกนข้อเหวี่ยง





3.ถอดตัวหมุน Rotor ของไดนาโมไฟสลับออกด้วยเครื่องถอด ตามที่แสดงไว้ใน (รูป23) หลังจากที่ตัวหมุนนั้นถูกถอดออกแล้ว ถอดสลักยืด (Woodsuff key) ซึ่งอัดเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยง




 4.ถอดสลักเกลียว (ขนาด 6 มม.) ยึดมอเตอร์สำหรับสตาร์ททั้ง 4 ตัว ที่ตอนหน้าของอ่างข้อเหวี่ยง (รูป25) แล้วถอดมอเตอร์สำหรับสตาร์ท จากโซ่ที่ใช้ขับ โดยปิดปลายแกนของมอเตอร์ที่เป็นเฟืองเข้าหาไดนาโมไฟสลับ ทั้งนี้ให้ถอดที่ยึดสายต่อมอเตอร์สำหรับสตาร์ท จากใต้อ่างเหวี่ยงเสียก่อน (รูป26) ถ้าแหวนยึดเฟืองที่ปลายแกนของมอเตอร์สำหรับสตาร์ท ถอดออกยาก ก็มีคีมสำหรับให้ใช้ได้ จะถอดชิ้นส่วนอื่น ๆ ออกก่อนการถอดแหวนยึดจากปลายแกนมอเตอร์ไม่ได้




5.ถอดคอยล์จุดระเบิด (ingetion coil) (1 ในรูป 27) ซึ่งติดอยู่ทางด้านขวาของอ่างข้อเหวี่ยง เฉพาะเครื่องที่มีเบอร์ประจำเครื่องสูงกว่า C92E-937064 คลายสกรูหัวกากะบาด (6 x 30 ม.ม. 5 ตัว, และ 6 x 24 ม.ม. 1 ตัว) และถอดได้นาโมไฟสลับ A. C. 2 ,แผ่นรับมอเตอร์สำหรับสตาร์พร้อมด้วยโซ่สำหรับสตาร์ท และเพื่อขับโซ่ออกมาด้วยกันเป็นชิ้นเดียว แล้วเฟืองขับโซ่อขงมอเรอต์สำหรับสตาร์ทก็จะถูกดังออกมาพร้อมกับเฟืองตัวอื่นด้วย



6.ถอดสลักเกลียวแกนของที่ดันโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว (Cam chain tensioner) ซึ่งมีลูกศรชี้อยู่ในรูป 28 และถอดที่ดันโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยวออก เพื่อให้ปฏิบัติการได้สะดวก ให้ขันสกรูตั้งที่ดันโซ่ ซึ่งติดอยู่ที่กับอ่างข้อเหวี่ยงตอนบน



7.หมุนเพลาข้อเหวี่ยง จนรอยต่อของโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยวมาปรากฏอยู่ที่ข้างอ่างข้อเหวี่ยงตรงที่ซื้อลูกอย่างของที่ดันโซ่ สัมผัสอยู่ ถอดที่ยืดข้อต่อโซ่ เพื่อตัดโซ่ออก
8.ถอดฝาครอบหัวสูบ โดยการถอดน็อต 6 ตัว (รูป 29) แล้วจึงถอดหัวสูบจากอ่างข้อเหวี่ยงตามรูป 30




9.วิธีถอดหัวสูบ ให้ปฏิบัติตามนี้ (รูป31)
9-1
ถอดฝาครอบหัวสูบซ้าย แล้วหมุนเฟืองโซ่ของเพลาลูกเบี้ยวด้วยมือหมุน (rotating handle) ซึ่งมีให้ไว้ในชุดเครื่องมือ จนกระทั่งโซ่นั้นหลุดจากเฟือง ถอดเฟืองโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว โดยถอดสลักเกลียว 3 ตัว
9-2 คลายสกรู ตั้งช่องก้านยกลิ้น (tappet adjusting screws) เสียทุกตัว เพื่อให้วาล์วไม่ถูกก้านยกอัดไว้
9-3 ถอดฝาจานจ่ายไฟ (distributor cap) และตัวหมุน (rotor) จากเครื่องที่มีจานจ่ายไฟ ถอดฝาครอบข้างหัวลูกสูบข้างขวา สำหรับเครื่องแบบ ซีบี 92 และ ซีเอ 95 ซึ่งมีเพียงสำหรับขับเครื่องเครื่องวัดความเร็วเครื่อง (tachometer) ถอดฝาครอบที่เก็บเฟืองขับเครื่องวันความเร็วเครื่อง และสลักยึดปลอกเฟืองออก งัดซีลกันน้ำมันรั่ว (oil seal) ซึ่งติดอยู่ทีปากทาง ออกด้วยไขควง แล้วจึงถอดปลอก และเพลาเฟืองออก (รูป 31,32) ถอดสกรู 4 ตัวออก ซึ่งมีตัวหนึ่งอยู่หลังปลอกเฟืองนั้น และจากนั้นก็ถอดฝาครอบข้างหัวสูบข้างขวาออก โดยการบิดไปข้าง ๆ  (รูป 33,34)
9-4 ถอดแหวนประกบปลาย สำหรับบังคับแกนยึดก้านยก (rocker arm clamp pins) โดยใช้คีมถ่างแหวนออก (รูป35) แล้วตกแกนยึดก้านยกออกโดยตอกจากปลายข้างหนึ่ง (รูป36)ก้านยกควรจะถอดออกเสียจากรูแกน (tappet holes)










9-5 ดึงส่วนประกอบของเพลาลูกเบี้ยวออกมาทางช่องข้างหัวสูบด้านที่มีโซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว
10.ถอดวาล์วและสปริง โดยอาศัยเครื่องอัดสปริง ซึ่งจะอัดสปริงไว้ระหว่างปลายทั้งสองข้าง วิธีอัดให้หมุนที่จับ และถอดสลักลิ่มล้อควาล์ว (valve cotters) ออกจากตอนบนของก้านวาล์ว (รูป37)


ถอดวาล์วออกให้หมดทุกตัว และทำเครื่องหมายกำกับแสดงต่ำแหน่งของวาล์วไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น