คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การตั้งช่องระหว่างแกนวาล์วและก้านยก

การตั้งช่วงวางระหว่างแกนวาล์วและก้านยกนั้น สำคัญต่อการที่จะทำให้วาล์วทำงานได้ดี และมีผลต่อการต้งเวลาปิดเปิดวาล์ว ถ้าช่องแคบเกินไปก็จะทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ ถ้าช่องใหญ่เกินไปก็จะทำให้ได้ยินเสียงแกนวาล์วทำงานได้ชัด
1.ถอดฝาครอบทองขาวแล้วตั้งเครื่องหมายชี้บนเครื่องปั่นไฟให้ตรงกันเครื่องหมาย T สำดำบนตัวหมุน
2.ขันฝาครอบ 4 ตัวออกด้วยกุญแจขันแกน (axle wrench) หรือกุญแจปากตาย คลายน๊อตที่ล๊อค แล้วตั้งสกรูสำหรับตั้งช่องโดยใช้กุญแจพิเศษที่ให้มา ให้ได้ช่วงระยะตามที่ต้องการ


ขันสกรูเข้าเพื่อลดระยะช่วง และคลายสกรูออกเพื่อเพิ่มระยะช่องนั้น ระหว่างแกนวาล์วและก้านยกของทั้งวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย เมื่อเครื่องเย็นนั้นควรจะมีขนาด 0.1 มม. ตรวจระยะช่องด้วยแผ่นเกจ์ (thickness gnage) ซึ่งมีให้อยู่ในชุดเครื่องมือ
3.ยึดสกรูที่ใช้ตั้งช่องให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ แล้วขันน๊อตล๊อค หมุนเพลาข้อเหวี่ยงไป 1 รอบ แล้วตั้งวาล์วของสูบตรงกันข้าวด้วยวิธีเดียวกัน
4.หลังจากที่ตั้งเรียบร้อยแล้ว เหยียบที่สตาร์ทหลาย ๆ ครั้งแล้วจึงวัดช่องนั้นอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น