คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การตั้งห้ามล้อ

การตั้งห้ามล้อหลังก็เพื่อแก้ให้ได้ช่วงว่าง (Free play) ในที่เหยียบห้ามล้อที่ถูกต้อง ควรดูให้แน่ว่าห้างล้อไม่ติดหรืออยู่ห่างเกินไป
ห้ามล้อหลัง
1.ตั้งที่เหยี่ยบห้ามล้อหลังจนมีช่วงว่าง 30-40 มม. ก่อนที่ห้ามล้อจะเริ่มทำงาน



2.วิธีการตั้ง ให้ขันน๊อตสำหรับตั้งไปตามทางที่ต้องการ ขันน๊อตเข้าเพื่อลดระยะที่ต้องเหยียบห้ามล้อ และคลายน๊อตออกเพื่อเพิ่มระยะที่ต้องเหยี่ยบห้ามล้อ

ห้ามล้อหน้า
1.ตั้งเพื่อให้มีช่วงว่าง 3-4 มม. ในที่บีบห้ามล้อก่อนที่ห้ามล้อจะเริ่มทำงาน
2.วิธีการตั้ง ให้ขันน๊อตสำหรับตั้งห้ามล้อไปตามทางที่ต้องการ ขันน๊อตเข้าเพื่อลดและออกเพื่อเพิ่มช่วงว่างในที่บีบห้างล้อ
3.การตั้งห้ามล้อของเครื่องซีบี 92
3-1.มีที่สำหรับตั้งห้ามล้อหน้าอยู่ที่สายห้ามล้อ สำหรับการตั้งช่วงว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ
3-2.เมื่อเปลี่ยนห้ามล้อใหม่ ตั้งแกนต่อห้ามล้อ (brike rod) เพื่อให้ลูกเบี้ยวทั้งสองตัวทำงานได้พร้อมกัน ตั้งแกนต่อห้ามล้อที่ตรงข้อต่อเพื่อให้ได้ความยาวที่ต้องการ และระยะระหว่างก้านดึงห้ามล้อตัวบน (upper brake arm) และก้านดึงห้ามล้อตัวล่างเป็นระยะที่ถูกต้อง หลังจากที่ใส่สลักข้อต่อ (Joint pins) และสลักลิ่มแล้ว ตรวจดูความหลวมด้านข้องของแกนต่อห้ามล้อ ถ้าแน่นเกินไปให้ตั้งแกนนั้นใหม่



3-3.การตั้งที่สำคัญนั้น ให้ตั้งที่ตั้งสายห้ามล้อ ซึ่งอยู่ที่ปลายบีบห้ามล้อ เช่นเดียวกับเครื่องธรรมดา
3-4.เมื่อใช้งานห้ามล้อมาอย่างหนัก เช่นในการแข่งขันให้ถอดฝาครอบนำอากาศ (air guide cap) ตั้งที่ล้อหน้าและล้อหลังออก เพื่อให้ห้ามล้อเย็นลงเร็ว สำหรับการใช้งานตาแปกติควรปิดฝานี้ไว้เสมอเพื่อกันฝุ่น และทรายไม่ให้เข้าไปในห้ามล้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น