คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องเล่มนี้ รวบรวมรายการทั่วไป และวิธีการเกี่ยวกับการซ่อมแซม ยกเครื่องและแก้เครื่องฮอนด้า 125 และฮอนด้า 150 แบบ C92, CS92, CB92, C95, CA95 ดังนั้นข้อความในหนังสือคู่มือเล่มนี้ก็จะมีประโยชน์ในการแนะนำพนักงานงานบริการ และช่างเครื่องฮอนด้า ให้ทำการบริการและซ่อมเครื่องดังกล่าวแล้วได้ดีขึ้น หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 บท กล่าวรวมถึง เครื่องยนต์, โครงรถ, เครื่องไฟฟ้าและการซ่อมแซม ทั้งยังมีช่องว่างสำหรับจดรายการกันลือ จัดไว้ให้ที่ตอนท้ายของทุกเรื่อง เพื่อจะได้ใช้จดรายการสำคัญเกี่ยวด้วยเรื่องบริการ เราหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้างเป็นแน่ เครื่องมือพิเศษ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือคู่มือนี้ แสดงไว้ที่รายการเครื่องอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการสั่งเครื่องนั้น ๆ รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
รายการนั้นพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว
หนังสือคู่มือเล่มนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขได้โดยไม่ต้องชีแจง
มกราคม
31, 1963

บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด
197/1 ถนนสีลม พระนคร

ขอบคุณ bankC95 สำหรับการอนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ด้วยครับ

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การตั้งระยะเวลาการจุดระเบิด

ตรวจดูระยะเวลาการจุดระเบิด และผิวของปุ่มทองขาวทุก ๆ 2-3 เดือน การตั้งไฟผิดหรือผิวปุ่มทองขาวไม่ดี จะทำให้การเดินเครื่องไม่เรียบ และจำนวนรอบของเครื่องยนต์ไม่สม่ำเสมอการตั้งไฟที่ความเร็วต่ำ 800-900 รอบต่อนาที โดยที่ไฟจุดระเบิดที่ 5องศา ก่อนที่ลูกสูบจะขึ้นถึงจุดสูงสุด ในขณะที่เครื่องหมาย F ตรงกับรอยสำหรับตั้ง การตั้งไฟเริ่มเลื่นขึ้นเมื่อเครื่องเดินที่ 1,200 รอบต่อนาที และเลื่อนระยะได้ 45 องศาจากเมื่อลูกสูบอยู่ต่ำสุด (BTDC) ที่ 2,300 รอบต่อนาที วิธีการตั้งไฟ



1.ถอดฝาครอบทองขาว หมุนเพลาข้อเหวี่ยงจนกระทั่ง B ตั้งอยู่ที่บนยอดของลูกเบี้ยว C และตั้งช่องของทองขาวให้ได้ 0.3 – 0.4 มม. (0.012-0.016)
2
.การตั้งระยะระหว่างช่องทองขาวโดยคลายสกรู D และเลื่อนสกรูไปทางซ้อยหรือทางขวา ช่องนั้นอาจจะลดลงได้โยการขันสกรูเข้าและเพิ่มขึ้นโดยการขันสกรูออก
3.การตั้งไฟให้หมุนเพลาข้อเหวี่ยงจนกระทั่งเครื่องหมาย F สีแดง บนตัวหมุนนั่นตรงกับเครื่องหมาย J บนตัว Stator ของเครื่องปั่นไฟ คลายสกรู G 2 ตัว ตัวหนึ่งบนสุดของแผ่น และอีกตัวหนึ่งที่ท้ายของแผ่น หมุนแผ่นไปจนถึงจุดที่ปุ่มทองขาวเริ่มแตะกน และขันสกรู G 2 ตัวนั้นเสีย
4.การใช้เครื่องทดสอบหลอดไฟเล็ก เพื่อหาเวลาที่ปุ่มทองขาวเริ่มแตะกัน




5.สำหรับการวัดระยะเวลาจุดระเบิดแบบที่ตั้งทั้งที่เครื่องยังเดินอยู่ ไฟสำหรับตั้งระยะเวลาจุดระเบิดในเครื่องทดสอบนั้นมีประโยชน์มาก อาจใช้หาที่ ๆ จุดระเบิดว่าระเบิดก่อนนานเท่าไหร่ เทียบกบความเร็วเครื่องเป็นจำนวนรอบต่อนาที
6.หลังจากที่ตั้งเรียบร้อยแล้ว หมุนเพลาข้อเหวี่ยวไป 2-3 รอบ แล้วตรวจไฟเสียใหม่นั้นด้วยผ้าแห้งให้สะอาด
7.ผิวที่ปุ่มทองขาวซึ่งมีรอยไหม้หรือเป็นรูนั้น ควรฝนเสียให้เรียบด้วยตะไบและให้เช็คผิวนั้นด้วยผ้าแห้งให้สะอาด
8.ทาจาระบีอย่างดีสักเล็กน้อยที่ที่รองน้ำมันในระหว่างการรักษาตามปกติ
9.เมื่อสนใจเฉพาะที่จะให้ได้กำลังมากที่ความเร็วเครืองสูง ให้ให้ท่อไอเสียแบบ megaphone พร้อมทั้งชุดนมหนูสำหรับรถแข่งใช้กับเครื่องซีบี92 ควรตั้งเวลาจุดระเบิด 10 องศาจากเมื่อลูกสูบอยู่ต่ำสุด โดยการทำเครื่องหมายไว้บนตัวหมุนของไดนาโมห่างจากเครื่องหมาย T 10 องศา โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา หรือตั้งระยะจากเครื่องหมาย T มายัง F องศาก็ได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น